วันจันทร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

การก่อผนังอิฐบล็อก

ที่มา : https://itdang2009.com/อิฐบล็อก-และเทคนิคการก่/

อิฐบล็อก และเทคนิคการก่ออิฐบล็อก

        “อิฐ” ส่วนประกอบหลักในการสร้างบ้าน ตึก อาคาร หรือแม้แต่รั้วกั้นอานาเขต ซึ่งปัจจุบันมีอิฐให้เลือกใช้หลากหลายชนิด หนึ่งในนั้นคือ “อิฐบล็อก” วัสดุสุดเรียบง่ายที่เราคุ้นเคยกันอย่างดี แถมยังเป็นที่นิยมในวงการก่อสร้าง ซึ่งจะเป็นเพราะอะไรนั้น มาทำความรู้จักอิฐบล็อกกันให้มากกว่านี้ดีกว่า กับ “ครบเครื่องเรื่องอิฐบล็อก” ที่จะรวมทุกเรื่องราวของอิฐบล็อกเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นข้อดี ข้อเสีย การใช้เลือกใช้งาน รวมถึงเทคนิคการก่อสร้าง ครบ จบ ในบทความนี้เลย

อิฐบล็อกคืออะไร

 

        อิฐก่อสร้างสีเทา ขนาดใหญ่ และหนา มีลักษณะเป็นรูพรุนเล็ก ๆ กระจายอยู่ทั่วทั้งก้อน ผลิตจากคอนกรีต ผสมกับทราย และน้ำในอัตราส่วนที่เหมาะสม นำไปอัดขึ้นรูปในเครื่องจักรทันสมัยด้วยแรงสั่นสะเทือนสูง ทำให้อิฐบล็อกมีความหนาแน่น แข็งแกร่ง พร้อมนำไปใช้งาน

 

        อิฐบล็อกก่อ มีทั้งแบบธรรมดา และแบบมอก. ซึ่งทั้ง 2 ประเภท จะมีขนาดที่เท่ากัน คือ อิฐบล็อกหนา 7 ซม. อิฐบล็อกหนา 9 ซม. อิฐบล็อกหนา 14 ซม. และอิฐบล็อกหนา 19 ซม. โดยมีความกว้าง 19 ซม. และความยาว 39 ซม. เท่า ๆ กัน แตกต่างกันที่ความหนาแน่น แข็งแกร่งของตัวอิฐ และมาตรฐานในการผลิต 

 

        อิฐบล็อก มอก. มีทั้งหมด 2 ประเภท คือ อิฐบล็อก มอก.57-2533 ประเภทคอนกรีตบล็อกรับน้ำหนัก และ อิฐบล็อก มอก. 58-2533 ประเภทคอนกรีตบล็อกไม่รับน้ำหนัก จะมีความหนาที่ได้มาตรฐานเป็นไปตามที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกำหนด เนื้อคอนกรีตหนาแน่นสูง แข็งแกร่งเป็นพิเศษ รับน้ำหนักได้ และมีค่าดูดซึมน้ำน้อยกว่าอิฐบล็อกธรรมดา 

 

| บทความที่เกี่ยวข้อง :

อิฐบล็อก มอก.57-2533 และ มอก.58-2533 แตกต่างกันอย่างไร?

การเลือกใช้งานอิฐบล็อก

 

        อิฐบล็อกมีหลากหลายขนาด ซึ่งแต่ละขนาดนั้นมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป เพราะฉะนั้นคุณควรเลือกอิฐบล็อกให้เหมาะสมกับการใช้งาน เพื่อให้งานของคุณออกมามีประสิทธิภาพมากที่สุด

 
811-อิฐบล็อก-หนา-7-ซม.-มอก.-ขนาด-7X19X39-ซม.

อิฐบล็อกหนา 7 ซม. อิฐบล็อกที่ขนาดเล็กที่สุด และมีผนังกั้นโพรงบางที่สุด จึงเหมาะกับงานที่ไม่ต้องการความแข็งแรงมาก ไม่ต้องรับน้ำหนัก หรือกระทบกระเทือนจากปัจจัยภายนอก เช่น ผนังกั้นห้องภายในบ้าน อาคารต่าง ๆ 

อิฐบล็อกหนา 9 ซม.

อิฐบล็อกหนา 9 ซม. มีผนังกั้นโพรงที่หนาขึ้น และมีความแข็งแรงมาก เหมาะสำหรับก่อผนังโกดังเก็บสินค้า ผนังโรงงานขนาดเล็ก รั้ว กำแพง ซึ่งอิฐบล็อกหนา 9 ซม. เป็นขนาดที่นิยมที่สุด เนื่องจากไม่จำเป็นต้องฉาบผนัง หรือฉาบเพียงข้างเดียว ก็จะได้ผนังที่มีความหนาเท่ากับ หรือใกล้เคียงกับขนาดของวงกบประตู หน้าต่าง ที่มีความหนาอยู่ที่ 10 ซม.

อิฐบล็อกหนา 14 ซม.

 อิฐบล็อกหนา 14 ซม. มีความหนาของผนังกั้นโพรงที่เหมาะกับการก่อเป็นผนังโรงงานอุตสาหกรรม โกดังเก็บสินค้าขนาดใหญ่ อาคารที่ต้องการความแข็งแกร่ง และทนทานต่อแรงสั่นสะเทือนจากเครื่องจักรที่ทำงานอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติในการทนไฟมากขึ้น ในกรณีที่เกิดเพลิงไหม้

814-อิฐบล็อก-หนา-19-ซม.-มอก.-ขนาด-19X19X39-ซม.

อิฐบล็อกหนา 19 ซม. อิฐบล็อกที่มีผนังกั้นโพรงหนาที่สุด แน่นอนว่าจะต้องแข็งแกร่งที่สุดเช่นกัน ซึ่งเหมาะกับก่อก่อสร้างที่ต้องการความแข็งแกร่งเป็นพิเศษ สามารถรับน้ำหนักได้ และทนทานต่อแรงกระทบจากปัจจัยภายนอก เช่น การก่อผนังบ้าน อาคารพาณิชย์ อาคารที่ก่อสร้างโดยไม่ใช้เสา โรงงานอุตสาหกรรม รั้วที่อยู่ใกล้กับถนน ซึ่งมีการสัญจรผ่านไปมาเป็นประจำ

         สำหรับงานก่อสร้างที่ต้องการความแข็งแกร่งเป็นพิเศษ แต่ก็ยังต้องการประหยัดงบประมาณ พี่อิฐก็ขอแนะนำให้เลือกใช้อิฐบล็อก มอก. นะครับ ซึ่งมีขนาดเท่ากับอิฐบล็อกทั่วไปเลย แต่มีคุณภาพที่ได้มาตรฐาน และมีความแข็งแกร่งมากกว่า

ข้อดีของอิฐบล็อก

 

  1. ช่วยลดระยะเวลาในการก่อสร้าง งานเสร็จเร็ว เนื่องจากอิฐบล็อกนั้นมีขนาดใหญ่
  2. ช่วยลดงบประมาณในการก่อสร้าง แน่นอนว่าเพราะอิฐบล็อกมีขนาดที่ใหญ่กว่าอิฐแดง อิฐมอญ จึงใช้จำนวนน้อย และเมื่อการก่อสร้างดำเนินไปอย่างรวดเร็ว ก็จะช่วยลดค่าแรงของช่างลงไปได้ด้วย 
  3. พบปัญหาเรื่องการก่อฉาบน้อย 
  4. หาช่างได้ง่าย เพราะเป็นการก่ออิฐที่ช่างทั่วไปถนัด
  5. หาซื้ออิฐบล็อกได้ง่าย  เพราะใช้เครื่องจักรในการผลิต จึงสามารถผลิตได้เป็นจำนวนมาก 

ข้อเสียของอิฐบล็อก

  1. ความแข็งแกร่ง และความสามารถในการรับแรงกดอยู่ในระดับน้อย ถึงปานกลาง เมื่อเทียบกับอิฐชนิดอื่น ๆ อย่างอิฐแดง 
  2. กันเสียงรบกวนจากภายนอกได้น้อย เพราะรูพรุนเล็ก ๆ ที่กระจายอยู่ทั่วทั้งก้อน แต่ในกรณีที่ไม่ได้นำไปก่อผนังที่พักอาศัย ที่ต้องการการเป็นส่วนตัว ไม่มีเสียงรบกวน ข้อเสียตรงนี้ก็ไม่มีปัญหาครับ
  3. มีโอกาศรั่วซึมได้สูง หากไม่มีการฉาบปูนที่ได้มาตรฐาน หรือการนำอิฐบล็อกไปก่อโดยไม่ทำการฉาบปกปิดภายนอก
  4. ตอก เจาะ แขวนได้ยาก เพราะด้านในค่อนข้างเปราะบาง และไม่เหมาะกับงานเดินท่อสายไฟ ท่อประปาในผนัง

เทคนิคการก่อผนังอิฐบล็อก

 
        1. เตรียมพื้นที่ในการก่อสร้าง หากจุดที่จะทำการก่อ ฉาบผนังอิฐบล็อกนั้นอยู่ในจุดที่มีแสงแดดส่องกระทบเป็นเวลานาน ควรหาผ้าใบมาขึงเพื่อกันแสงแดดที่จะทำให้ปูนแห้งตัวเร็วเกินไป
 
เทคนิคการก่อผนังอิฐบล็อก 1
 
 

       2. เตรียมอิฐบล็อก ทำความสะอาดพื้นผิวให้สะอาดเรียบร้อย ด้วยการปัดฝุ่น สิ่งสกปรกที่เกาะอยู่บนผิวหน้า หรือบ่มอิฐด้วยการราดน้ำให้ชุ่มพอประมาณ จะช่วยให้ตัวอิฐบล็อกยึดจับปูนฉาบได้ดี และไม่ดูดน้ำในปูนก่อ ฉาบ แต่ห้ามนำอิฐบล็อกไปแช่น้ำเด็ดขาด เพราะอิฐบล็อกจะอมน้ำ ทำให้มีน้ำหนักมาก และเมื่อนำไปก่อ ก็จะคลายน้ำออกมา ทำให้ปูนก่อ ฉาบ ไม่แห้ง หรือเกิดการเหลว ไม่ยึดเกาะ จนเกิดผนังล้มได้

เทคนิคการก่อผนังอิฐบล็อก 2

        3. ผสมปูนก่อ ในอัตราที่เหมาะสม โดยใช้ปูนซีเมนต์ 1 ส่วน : ทรายหยาบ 3 ส่วน และค่อยๆ ใส่น้ำลงไปทีละนิด ป้องกันไม่ให้เนื้อปูนเหลวเกินไป ขณะใช้จอบคนผสมให้เข้ากันในกระบะผสมปูน หรือใช้เกรียงใบโพธิ์ตักคนผสมให้เข้ากันในถังปูน ซึ่งภาชนะผสมปูนจะเล็ก หรือใหญ่ ขึ้นอยู่กับปริมาณปูนที่ต้องการใช้งาน ปูนที่ได้ที่พร้อมใช้งานแล้ว เมื่อตักปูนขึ้นมาจะต้องติดเป็นก้อน ไม่เหลว หรือไหลออก หากเหลวจะต้องทำการผสมใหม่ ซึ่งดีกว่าการผสมปูนเติมลงไป

เทคนิคการก่อผนังอิฐบล็อก 3

        4. หลังจากทำความสะอาดอิฐบล็อก และเตรียมปูนเรียบร้อยแล้ว ก็เริ่มก่อได้เลย โดยเลือกก่อจากมุมชิดติดเสาก่อน ซึ่งเสาต้องมีการผูดเหล็กหนวดกุ้งเอาไว้ เพื่อให้อิฐบล็อกยึดกับสิ่งที่มั่นคง และสามารถขึงเส้นเอ็นจากมุมหนึ่งไปอีกมุมหนึ่ง เพื่อให้แนวของผนังได้แนวตรง และแนวดิ่ง ป้องกันผนังคดเคี้ยว ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาในการฉาบตามมาภายหลัง

เทคนิคการก่อผนังอิฐบล็อก 4

        5. วิธีก่อชั้นแรก ใช้เกรียงใบโพธิ์โปะปูนลงไปบนพื้นให้พอดีกับความยาวของอิฐบล็อก แล้วปาดให้เป็นเส้นตรงตั้งสันเป็นรูปทรงสามเหลี่ยม โดยมีความหนาอยู่ที่ 1-2 ซม. ซึ่งเป็นความหนาที่เหมาะสมกับการยึดเกาะของอิฐบล็อก จากนั้นวางอิฐบล็อกในด้านทึบกดลงไปกับตัวปูนที่ปาดรอไว้ ใช้ด้ามเกรียงเคาะให้แน่น และได้ระดับ จากนั้นปาดปูนส่วนเกินให้เรียบร้อย และเริ่มก่อต่อด้วยการปาดปูนลงไปด้านข้างของตัวอิฐบล็อกที่มีลักษณะเป็นร่อง ปาดให้เต็มและเกินออกมาให้เป็นสันรูปทรงสามเหลี่ยม ด้านล่างก็ทำเหมือนกันกับก้อนแรก แล้วกดอิฐบล็อกก้อนที่สองลงไป ปูนที่เกินออกมาจะเชื่อมประสานตัวอิฐได้อย่างพอดี

เทคนิคการก่อผนังอิฐบล็อกเทคนิคการก่อผนังอิฐบล็อก 5

        ข้อแนะนำ : อย่าหงายด้านที่เป็นช่องขึ้นด้านบน จะทำให้ปูนไหลลงไปด้านในช่อง เกิดการสิ้นเปลืองปูน และเพิ่มน้ำหนักให้กับผนัง เนื่องจากมีปูนอัดแน่นอยู่ด้านใน 

        6. เริ่มก่อชั้นที่ 2 และชั้นต่อ ๆ ไป ด้วยวิธีเดียวกัน สิ่งสำคัญคือการตรวจเช็คว่าก้อนอิฐบล็อกในแต่ละแถวนั้นอยู่ในระดับเดียวกัน และควรก่อรูปแบบสลับฟันปลา หรือที่เลือกว่า Stretcher bond คือการก่ออิฐแบบทั่วไป ซึ่งจะช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับตัวกำแพง ผนังมากยิ่งขึ้น

เทคนิคการก่อผนังอิฐบล็อกเทคนิคการก่อผนังอิฐบล็อก 6

        7. การก่อผนังอิฐบล็อก ที่มีความยาว 3 – 4 เมตร และความสูง 3 เมตรขึ้นไป จะต้องมีการเสริมเสาเอ็น และคานทับหลังในทุก ๆ พื้นที่ 5 – 6 ตารางเมตร ของผนัง ซึ่งมีหน้าที่ช่วยยึดผนังให้ประสานกับวงกบประตูหรือหน้าต่าง ช่วยให้สามารถรับน้ำหนักของวัสดุ และทนทานต่อแรงกระแทกได้มากยิ่งขึ้น

เทคนิคการก่อผนังอิฐบล็อกเทคนิคการก่อผนังอิฐบล็อก 7

        8. ในกรณีที่ก่อผนังอิฐบล็อกในตัวบ้าน อาคารที่มีมากกว่า 1 ชั้น เมื่อก่อไปจนเกือบถึงคานชั้นบน ควรหยุดก่อก่อน และเว้นช่องว่างระหว่างผนังกับคานไว้ประมาณ 10-20 ซม. หรือเท่ากับความสูงของอิฐบล็อก 1 ก้อน รอให้ปูนก่อยุบตัวคงที่ประมาณ 3-5 วัน จึงใช้อิฐแดงก่อในรูปแบบเอียง 45 องศา หรือที่เรียกว่าการยัดหัวปลาสร้อย เพื่อป้องกันการแอ่นตัวของท้องคานลงมากดทับผนัง จนเกิดการแตกร้าว ซึ่งการยัดหัวปลาสร้อยด้วยอิฐแดงนั้นแข็งแรงกว่าการใช้อิฐบล็อก

เทคนิคการก่อผนังอิฐบล็อกเทคนิคการก่อผนังอิฐบล็อก 8

 

       9. เมื่อก่อผนังเสร็จเรียบร้อยแล้ว และรอให้ปูนแข็งตัวดี หลังจากนั้นประมาณ 3 วัน ควรบ่มผนังโดยรดน้ำบนผนังให้ชุ่มอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง ต่อเนื่องจนครบ 1 สัปดาห์ หากผนังอยู่ในจุดที่มีแสงแดดจัดกระทบตลอดทั้งวัน อาจเพิ่มการรดน้ำผนังเป็นวันละ 2 ครั้ง เพื่อให้ปูนไม่สูญเสียน้ำเร็วเกินไป ช่วยลดปัญหาการแตกร้าวบนผนัง

เทคนิคการก่อผนังอิฐบล็อกเทคนิคการก่อผนังอิฐบล็อก 9

การก่อผนังอิฐบล็อก

ที่มา :  https://itdang2009.com/อิฐบล็อก-และเทคนิคการก่/ อิฐบล็อก และเทคนิคการก่ออิฐบล็อก ...