วันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2555

อบายมุข 6

1. ดื่มน้ำเมา
2. เที่ยวกลางคืน
3. เที่ยวดูการละเล่น
4. เล่นการพนัน
5. คบคนชั่วเป็นมิตร
6. เกียจคร้านการทำงาน

ดื่มน้ำเมา มีโทษ 6 คือ เสียทรัพย์, ก่อการทะเลาะวิวาท, เกิดโรค, ต้องติเตียน, ไม่รู้จักอาย, ทอนกำลังปัญญา

เที่ยวกลางคืน มีโทษ 6 คือ ชื่อว่าไม่รักษาตัว, ชื่อว่าไม่รักษาลูกเมีย, ชื่อว่าไม่รักษาทรัพย์สมบัติ, เป็นที่ระแวงของคนทั่วไป, มักถูกใส่ความ, ได้รับความลำบากมาก

เที่ยวดูการละเล่น มีโทษไปตามวัตถุที่ไปดู 6 คือ รำที่ไหนไปที่นั่น, ขับร้องที่ไหนไปที่นั่น, ดีดสีตีเป่าที่ไหนไปที่นั่น, เสภาที่ไหนไปที่นั่น, เพลงที่ไหนไปที่นั่น, เถิดเทิงที่ไหนไปที่นั่น

เล่นการพนัน มีโทษ 6 คือ เมื่อชนะย่อมก่อเวร, เมื่อแพ้ย่อมเสียดายทรัพย์ที่เสียไป, ทรัพย์ย่อมฉิบหาย, ไม่มีใครเชื่อถ้อยคำ, เป็นที่หมิ่นประมาทของเพื่อน, ไม่มีใครประสงค์จะแต่งงานด้วย

คบคนชั่วเป็นมิตรมีโทษตามบุคคลที่คบ 6 คือ

1. นำให้เป็นนักเลงการพนัน
2. นำให้เป็นนักเลงเจ้าชู้
3. นำให้เป็นนักเลงเหล้า
4. นำให้เป็นคนลวงเขาด้วยของปลอม
5. นำให้เป็นคนลวงเขาซึ่งหน้า
6. นำให้เป็นคนหัวไม้

เกียจคร้านการทำงานมีโทษ 6 คือ

1. มักให้อ้างว่าหนาวนัก แล้วไม่ทำงาน
2. มักให้อ้างว่าร้อนนัก แล้วไม่ทำงาน
3. มักให้อ้างว่าเวลาเย็นแล้ว ไม่ทำงาน
4. มักให้อ้างว่า เวลายังเช้าอยู่ แล้วไม่ทำงาน
5. มักให้อ้างว่า หิวนัก แล้วไม่ทำการงาน
6. มักให้อ้างว่าระหายนัก แล้วไม่ทำการงาน

ผู้หวังความเจริญด้วยโภคทรัพย์ พึงเว้นเหตุเครื่องฉิบหาย 6 ประการนี้เสีย

วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การรักษาศีลข้อวิกาละโภชนา

ถาม: วิกาละโภชนา พระกับฆราวาสต่างกันไหม ?

ตอบ : ถ้าฆราวาส หลวงพ่อท่านบอกว่าส่วนใหญ่แล้วทำงานมันเลิกเที่ยง ท่านบอกว่าให้กำหนดไว้ว่าไม่เกินบ่าย ๒ โมง แต่ว่าของพระนี่...ถ้าเที่ยงตรงเป๊งก็ต้องเลิกเลย เพราะ โลกมันนิยมอย่างนั้น ความจริงวิกาลแปลว่ากลางคืน ศีลพระมีอยู่ ๒ ข้อ ที่กล่าวชัดๆ ถึงเวลาวิกาล ก็คือรับประทานอาหารในเวลาวิกาลอย่างหนึ่ง และเข้าบ้านในเวลาวิกาลโดยไม่ได้บอกลาอย่างหนึ่ง

แต่คราวนี้ของเรา เวลาวิกาลที่ไม่ได้บอกลาจะเข้าไปในบ้าน เขาตีว่าพระอาทิตย์ตกดินแล้ว แต่ว่าเวลาวิกาลที่ฉันอาหาร เขาตีว่าหลังเที่ยงไปแล้ว มันลักลั่นกัน แต่พม่ามันตีราคาเดียวกัน เพราะฉะนั้น พระพม่าฉันมื้อเย็นกันเพลิดเพลินเจริญใจไปเลย ถือว่าวิกาลเหมือนกัน แต่จริงๆ เราต้องมาดูตรงจุดที่ว่า พระพุทธเจ้าท่านปรารถนาให้เรารู้จักโภชเนมัตตัญญุตา คือ ประมาณในการกิน การรู้จักประมาณในการฉันแต่พอควรแก่ธาตุขันธ์ตัวเอง มันก็ไม่ทำให้กิเลสกำเริบ มันทำให้ร่างกายโปร่งเบา มันทำให้ภาวนาได้ง่าย มันทำให้ไม่ต้องมีห่วงมีกังวลในการเตรียมอาหารมื้อต่อไป ดังนั้นแม้ว่าฆราวาสเราจะว่ากันจนถึงบ่าย ๒ โมง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าให้เรากินตั้งแต่เช้ายันบ่าย ๒ โมง มันต้องรู้จักประมาณบ้าง

สมัยก่อนมีโยมอยู่คนหนึ่ง ชุดนี้ทำงานเก่ง เวลาไปวัดท่าซุง คุณจะเห็นชุดขาวพรึ่บไปทั้งชุด ๓๐ – ๔๐ คนเลย มีอยู่รายหนึ่งถือศีลแปด อธิษฐานว่าจะกินถึงบ่าย ๒ โมง ปรากฎว่ากินวันหนึ่ง ๑๐ กว่ามื้อ ตกลงว่าให้กิน ๓ มื้อเท่าเดิมดีกว่า เปลืองน้อยกว่าเยอะเลย ต้องรู้จักประมาณในการกิน ไม่ใช่ว่าตะบันไป ให้มันเป็นมื้อเป็นคราว

ถาม: ไอศกรีม ?

ตอบ : ไอศกรีม จริงๆ ถ้าหากว่าเป็นพระ ไม่มีพวกถั่ว ลอดช่อง สาคู มันเป็นแค่นมเนยมันได้ แต่หลวงพ่อท่านเคยขอไว้ ท่านบอกว่าถ้าไม่ถึงกับจะตายห่าจริงๆ อย่าไปแดกมันเลยลูก มันน่าเกลียด คือ เห็นพระนั่งกินไอติมอยู่ มันงามไหมล่ะ ? โดยเฉพาะตอนเย็นๆ แต่ว่าศีลของพระเป็นอย่างนั้น คราวนี้ของโยมเขาไม่ได้ห้ามเอาไว้ชัด ถ้าเรารู้ชัดว่ามันไม่ใช่อาหารก็ว่าไป แต่ไม่ใช่กินไป ๓ ถ้วย ๕ ถ้วย เอามันแค่พอระงับการกระวนกระวายของร่างกายที่จะเกิดจากความหิว

ถาม: น้ำเต้าหู้ ?

ตอบ : น้ำเต้าหู้ ถ้าพระไม่ได้จ้ะ แต่โยมได้ เพราะว่าของพระเขาระบุไว้ชัดเลยว่าอันไหนเป็นอาหาร อันไหนเป็นเภสัช ส่วนที่เป็นอาหารเขาระบุไว้ชัดเลย สาลี วีหี ตัณฑุลา สาลีคือข้าว วีหีคือถั่ว ตัณฑุลาคืองา น้ำเต้าหู้นี่มันมาจากถั่ว ถึงทำเป็นน้ำแล้วเขายังถือว่าเป็นอาหารอยู่ เพราะฉะนั้นพวกน้ำเต้าหู้ น้ำถั่วเหลือง แลคตาซอย ไวตามิลค์ ถวายพระไป ถ้าท่านไม่รู้ท่านฉันไปก็เป็นโทษเหมือนกัน

แต่มาตอนหลังมันถวายกันจนกระทั่งพระไปไม่เป็นแล้ว คือไม่ว่ากี่มื้อถวายแต่อย่างนั้น แล้วเขาถามว่ายังไง ? บอกคุณก็ฉันไป ๑ แก้วก็พอ ไม่ใช่ฟาดไป ๓ ขวด ๕ ขวด มันต้องรู้จักประมาณ ในเมื่อโยมเขาถวายมา ถ้าเราไม่ฉัน เขาก็เกิดน้อยใจ เสียใจ กำลังใจเขาตก คุณก็ฉันให้เขาดูสักแก้ว ครึ่งแก้ว แล้วเราก็ไปปลงอาบัติของเรา เพราะเรารู้ว่าไม่ถูกต้อง มันไม่ใช่เจตนาเราจะฉันเอาอิ่มเอาสนุกจะกินให้อ้วนพี จะกินให้ยั่วกิเลสมันเกิดขึ้น แต่ว่าการฉันโดยบังคับด้วยสถานการณ์เพราะต้องการรักษาศรัทธาญาติโยม แต่ถ้าเป็นอาตมารับมา ก็ส่งต่อไปเลย อาตมาไม่ค่อยรักษาศรัทธาหรอก มันมาเยอะ เราเหนื่อย

ถาม: ไอศกรีมไม่ต้องเคี้ยว

ตอบ : จริงๆ มันเป็นส่วนของนมเนย พระพุทธเจ้าท่านอนุญาตให้เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ถ้านมเป็นเนยเฉยๆ ไม่เป็นไร แต่ก็อย่างว่าน่ะ ที่หลวงพ่อท่านว่ามันน่าเกลียด ถ้าเป็นโยมกินไปเถอะ เพราะเขาไม่รู้หรอกว่าเรารักษาศีลแปดหรือเปล่า ยกเว้นเราโกนหัวนุ่งขาวห่มขาว

ถาม: ไอศกรีมกะทิก็ห้ามด้วย

ตอบ : ก็ดูสิว่ามันจะไม่มีของอื่นที่เป็นอาหารอยู่ ถ้าหากว่ามีพวกผลไม้มีลอดช่อง มีถั่ว ก็ฉันไม่ได้อยู่แล้ว จริงๆ กะทิเป็นน้ำมัน ที่เขาห้าม คือ ห้ามน้ำพวกที่เป็นมหาผล ที่เขาห้ามเพราะว่าน้ำมันมีฮอร์โมนมาก เป็นพระต้องการความสงบ กินไอ้ที่มีฮอร์โมนเยอะๆ เข้าไป มันหาที่ไปไม่เป็นหรอก

ถาม: น้ำผลไม้ก็ไม่ได้ ?

ตอบ : น้ำผลไม้เขาห้ามไอ้ที่ใหญ่กว่ากำปั้น ส่วนใหญ่พวกสับปะรด แตงโม ส้มโอ มะพร้าวอ่อน ฮอร์โมนเยอะมาก ฉันเข้าไปจะไม่สุขสงบ แรกๆ ท่านอนุญาตไว้ ๘ อย่าง เรียกว่า อัฏฐบานคือ อัฏฐปานะ น้ำ ๘ อย่าง มาตอนหลังท่านบัญญัติเพิ่มเติมว่า ถ้าเป็นผลไม้แล้วโตไม่เกินลูกมะตูม คือกะว่าประมาณกำปั้นนี่ ถ้าไม่โตเกินนั้นก็อนุญาตให้ ถ้าโตเกินนั้นไม่อนุญาต



สนทนากับพระเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
เดือนมกราคม ๒๕๔๗(ต่อ)
ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ

วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555

คำอาราธนาอุโบสถศีล

มะยัง ภันเต ติสะระเณ นะสะหะ อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง, อุโปสะถัง ยาจามะ
ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต ติสะระเณ นะสะหะ อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง, อุโปสะถัง ยาจามะ
ตะติยัม มะยัง ภันเต ติสะระเณ นะสะหะ อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง, อุโปสะถัง ยาจามะ

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขออาราธนาอุโบสถศีล อันประกอบด้วยองค์ ๘ พร้อมด้วยไตรสรณะ
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขออาราธนาอุโบสถศีล อันประกอบด้วยองค์ ๘ พร้อมด้วยไตรสรณะ แม้ครั้งที่ ๒
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขออาราธนาอุโบสถศีล อันประกอบด้วยองค์ ๘ พร้อมด้วยไตรสรณะ แม้ครั้งที่ ๓

คำอาราธนานี้ใช้สำหรับการสมาทานศีลพร้อมกันหลายๆ คน
ถ้าคนเดียว เปลี่ยนคำว่า “มะยัง” เป็น “อะหัง” และ “ยาจามะ” เป็น “ยาจามิ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
อะระหะโต
ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส
สัมมาสัมพุทธัสสะ
ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง
(ว่า ๓ ครั้ง ตามพระสงฆ์)

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ข้าพเจ้าขอถือเอาพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ข้าพเจ้าขอถือเอาพระธรรม ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ข้าพเจ้าขอถือเอาพระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก

ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าขอถือเอาพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าขอถือเอาพระธรรม ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าขอถือเอาพระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก

ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าขอถือเอาพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าขอถือเอาพระธรรม ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าขอถือเอาพระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก

พระจะกล่าว "ติสรณคมนัง ปริปุณนัง"
เรากล่าวรับ "อามะภันเต"


๑. ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือเจตนา เว้นจากการฆ่าด้วยตนเอง และใช้ให้ผู้อื่นฆ่า
๒. อทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้แล้ว ด้วยตัวเอง และใช้ให้ผู้อื่นฉ้อฉล
๓. อพรัหมะจะริยา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือเว้นจากการประพฤติกรรมอันเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์
๔. มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือเว้นจากการพูดเท็จ คำล่อลวงผู้อื่น
๕. สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฺฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือเว้นจากการ ดื่มน้ำเมา สุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งของความประมาท
๖. วิกาละโภชะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือเว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล (ตั้งแต่เที่ยงจนถึงรุ่งอรุณของวันใหม่)
๗. นัจจะคีตะวาทิตะ วิสูกะทัสสะนา
มาลาคันธะวิเลปะนะ ธาระณะ มัณฑะนะ วิภูสะนัฏฺฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
ข้าพเจ้า สมาทานซึ่งสิกขาบท คือเว้นจากการฟ้อนรำขับร้องและประโคมเครื่องดนตรีต่างๆ และดูการละเล่นชนิดเป็นข้าศึกต่อกุศล และลูบทาทัดทรวงประดับตกแต่งร่างกายด้วยดอกไม้และของหอม อันเป็นที่ตั้งแห่งความยินดี
๘. อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือเว้นจากการนั่งนอนบนเตียงตั่งมีเท้าสูงเกินประมาณ
และที่นอนสูงใหญ่ภายในมีนุ่นและสำลี และเครื่องปูลาดอันวิจิตรงดงามต่างๆ

พระสงฆ์จะกล่าว "อัปปมาเทนะ สัมปาเทถะ"
เรากล่าวรับ "อามะภันเต"
หรือ
พระสงฆ์จะกล่าว “มายาทาสิกขาปะทานิ”
หรือ
อิมานิ อัฏฐะ สิกขาปะทานิ
ทั้งหมดนี้คือหัวข้อที่จะต้องศึกษาและปฏิบัติ ๘ ประการ

(บางครั้งพระสงฆ์กล่าวว่า “อิมานิ อัฏฐะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ” แล้วเราว่าตาม ๓ ครั้ง)

พระสงฆ์จะกล่าวต่อว่า

สีเลนะ สุคะติง ยันติ
ศีลเป็นปัจจัยให้มีความสุข

สีเลนะ โภคะสัมปะทา
ศีลเป็นปัจจัยให้มีโภคสมบัติ

สีเลนะ นิพพุติง ยันติ
ศีลเป็นปัจจัยให้เข้าถึงพระนิพพาน

ตัสมา สีลัง วิโสธะเยฯ
เพราะฉะนั้น จงทำจิตให้สะอาดหมดจดด้วยศีลตลอดกาลทุกเมื่อเถิดฯ

เรากล่าวรับ "สาธุ ภันเต"


(สำหรับอุโบสถศีล กล่าวต่อตามข้างล่าง)

เมื่อจบสิกขาบทดังกล่าวแล้ว ผู้รับศีลพึงกล่าวคำสมาทานอีกดังนี้

อิมัง อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง พุทธะปัญญัตตัง อุโปสะถัง อิมัญจะ รัตติง อิมัญจะ ทิวะสัง สัมมะเทวะ อะภิรัปขิตุง สะมาทิยามิ
ข้าพเจ้า สมาทานอุโบสถศีลที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติ ประกอบไปด้วยองค์ ๘ ประการ นี้ เพื่อจะรักษาไว้ไม่ให้ขาด ไม่ให้ทำลาย ตลอดเวลา วันหนึ่ง คืนหนึ่ง ณ เวลาวันนี้

จากนั้นพระสงฆ์กล่าวสรุปอุโบสถศีลดังนี้

อิมานิ อัฏฐะ สิกขาปะทานิ, อัชเฌกัง รัตติง เอวัง อุโปสะถะสีละวะเสนะ, สาธุกัง กัตวา อัปปะมาเทนะ รักขิตัพพานิ
ขอท่านทั้งหลายจงรักษาสิกขาบททั้งแปดข้อนี้ไว้ให้ดี อย่าประมาท ต่ออำนาจศีลอุโบสถตลอดราตรีหนึ่ง

ผู้รับศีลพึงตอบรับว่า “สาธุ ภันเต

วันพฤหัสบดีที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2555

พิธีรักษาอุโบสถศีล

วันนี้ตรงกับขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 เป็นวันอาสาฬหบูชา 
เข้าพรรษาปีนี้  เริ่มเลย...
.........เมื่อพระสงฆ์สามเณรทำวัตรเช้าเสร็จแล้ว อุบาสกอุบาสิกพึงทำวัตร
เช้า โดยเริ่มคำบูชาพระ ว่า

.........ยะมะหัง สัมมาสัมพุทธัง ภะคะวันตัง สะระณัง คะโต, (หญิงว่า
คะตา) พระผู้มีพระภาค, พระองค์ตรัสรู้ดีแล้วโดยชอบพระองค์ใด, ข้าพเจ้า
ถึงแล้วว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยจริง, อิมินา สักกาเรนะ, ตัง ภะคะวันตัง,
อะภิปูชะยามิ, ข้าพเจ้าบูชา, ซึ่งพระผู้มีพระภาคนั้น, ด้วยเครื่องสักการะอันนี้.

.........ยะมะหัง สวากขาตัง, ธัมมัง สะระณัง คะโต (หญิงว่า คะตา)
พระธรรมที่พระผู้มีพระภาค, พระองค์ตรัสไว้ดีแล้วสิ่งใด, ข้าพเจ้าถึงแล้วว่า
เป็นที่พึ่งกำจัดภัยจริง, อิมินา สักกาเรนะ, ตัง ธัมมัง, อะภิปูชะยามิ,
ข้าพเจ้าบูชา, ซึ่งพระธรรมนั้น, ด้วยเครื่องสักการะอันนี้.

.........ยะมะหัง สุปะฏิปันนัง, สังฆัง สะระณัง คะโต (หญิงว่า คะตา)
พระสงฆ์ที่ท่านเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้วหมู่ใด, ข้าพเจ้าถึงแล้วว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัย
จริง, อิมินา สักกาเรนะ, ตัง สังฆัง, อะภิปูชะยามิ, ข้าพเจ้าบูชา, ซึ่ง
พระสงฆ์หมู่นั้น, ด้วยเครื่องสักการะอันนี้.

.........อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ
(กราบ)
.........สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)
.........สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สังฆัง นะมามิ (กราบ)

.........(ต่อจากนี้ ทำวัตรเช้า จบแล้วหัวหน้าอุบาสกหรืออุบาสิกาพึงคุกเข่า
ปะนมมือประกาศองค์อุโบสถ ทั้งคำบาลีและคำไทย ดังนี้)

.........อัชชะ โภนโต ปักขัสสะ อัฏฐะมีทิวะโส (ถ้าวันพระ ๑๕ ค่ำ ว่า
ปัณณะระสีทิวะโส ๑๕ ค่ำว่า จาตุททะสีทิวะโส) เอวะรูโป โข โภนโต
ทิวะโส พุทเธนะ ภะคะวะตา ปัญญัตตัสสะ ธัมมัสสะวะนัสสะ เจวะ
ตะทัตถายะ อุปาสะกะอุปาสิกานัง อุโปสถัสสะ จะ กาโล โหติ หันทะ
มะยัง โภนโต สัพเพ อิธะ สะมาคะตา ตัสสะ ภะคะวะโต ธัมมานุ-
ธัมมะปะฏิปัตติยา ปูชะนัยถายะ อิมัญจะ รัตติง อิมัญจะ ทิวะสัง
อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง อุโปสะถัง อุปะวะสิสสามาติ กาละปะริจเฉหัง
กัตวา ตัง ตัง เวระมะณิง อารัมมะณัง กะริตวา อะวิกขิตตะจิตตา หุตวา
สักกัจจัง อุโปสะถัง สะมาทิเยยยามะ อีทิสัง หิ อุโปสะถัง สัมปัตตานัง
อัมหากัง ชีวิตัง มา นิรัตถะกัง โหตุ 

คำแปล

........ขอประกาศเริ่มเรื่องความที่จะสมาทานรักษาอุโบสถ อันพร้อมไปด้วย
องค์แปดประการ ให้สาธุชนที่ได้ตั้งจิตสมาทานทราบทั่วกันก่อน แต่สมาทาน
ณ บัดนี้ ด้วยวันนี้ เป็น วันอัฏฐะมีดิถีที่แปด (ถ้าวันพระ ๑๕ ค่ำว่า วันปัณ-
ณะระสีดิถีที่สิบห้า ๑๔ ค่ำว่า วันจาตุททะสีดิถีที่สิบสี่) แห่งปักษ์มาถึงแล้ว
ก็แหละวันเช่นนี้ เป็นกาลที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแต่งตั้งไว้ให้
ประชุมกันฟังธรรมและเป็นกาลที่จะรักษาอุโบสถของ อุบาสกอุบาสิกา ทั้งหลาย
เพื่อประโยชน์แก่การฟังธรรมนั้นด้วย เชิญเถิดเราทั้งหลายทั้งปวงที่ได้มา
ประชุมพร้อมกัน ณ ที่นี้ พึงกำหนดกาลว่าจะรักษาอุโบสถตลอดวันหนึ่งกับคืน
หนึ่งนี้ แล้วพึงทำความเว้นโทษนั้น ๆ เป็นอารมณ์ คือ

........- เว้นจากฆ่าสัตว์ ๑
........- เว้นจากลักฉ้อสิ่งที่เจ้าของเขาไม่ให้ ๑
........- เว้นจากประพฤติกรรมที่เป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ ๑
........- เว้นจากเจรจาคำเท็จล่อลวงผู้อื่น ๑
........- เว้นจากดื่มสุราเมรัยอันเป็นเหตุที่ตั้งแห่งความประมาท ๑
........- เว้นจากบริโภคอาหาร ตั้งแต่เวลาพระอาทิตย์เที่ยงแล้วไปจน
........ถึงเวลาอรุณขึ้นมาใหม่ ๑
........- เว้นจากฟ้อนรำขับร้องและประโคมเครื่องดนตรีต่าง ๆ แต่
........บรรดาที่เป็นข้าศึกแก่บุญกุศลทั้งสิ้น และทัดทรงประดับตก
........แต่งร่างกายด้วยดอกไม้ของหอม เครื่องประดับเครื่องทา
........เครื่องย้อม ผัดผิด ทำกายให้วิจิตรงดงามต่างๆ อันเป็นเหตุ
........ที่ตั้งแห่งความกำหนัดยินดี ๑
........- เว้นจากนั่งนอนเหนือเตียงตั่งม้าที่มีเท้าสูงเกินประมาณ และ
........ที่นั่งที่นอนใหญ่ ภายในมีนุ่มและสำสี และเครื่องปูลาดที่
........วิจิตรด้วยเงินและทองต่าง ๆ ๑
........อย่าให้มีจิตฟุ้งซ่านส่งไปอื่น พึงสมาทานเอาองค์อุโบสถทั้งแปดประการโดย
เคารพ เพื่อจะบูชาสมเด็จ พระผู้มีพระภาค พระพุทธเจ้านั้น ด้วยธรรมมานุธรรม
ปฏิบัติ อนึ่ง ชีวิตของเราทั้งหลายที่ได้เป็นอยู่รอดมาถึงวันอุโบสถเช่นนี้ จงอย่า
ได้ล่วงไปเสียเปล่าจากประโยชน์เลย

........(เมื่อหัวหน้าประกาศจบแล้ว พระสงฆ์ผู้แสดงธรรมขึ้นนั่งบนธรรมาสน์
อุบาสกอุบาสิกพึงนั่งคุกเข่ากราบพร้อมกัน ๓ ครั้ง แล้วกล่าวคำอาราธนา
อุโบสถศีลพร้อมกัน ว่าดังนี้)

........มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ
........อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง อุโปสะถัง ยาจามะ (ว่า ๓ จบ)
........ต่อนี้ คอยตั้งใจรับสรณคมน์และศีลโดยเคารพ คือประนมมือ ว่าตาม
คำที่พระสงฆ์บอกเป็นตอน ๆ ว่า 

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ) ........พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ 

.........เมื่อพระสงฆ์ว่า ติสะระณะคะมะนัง นิฏฐิตัง พึงรับพร้อมกันว่า
อามะ ภันเต
.........๑. ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาประทัง สะมาทิยามิ
.........๒. อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
.........๓. อะพรัหมะจริยา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
.........๔. มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
.........๕. สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง
สะมาทิยามิ
.........๖. วิกาละโภชะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
.........๗. นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสะนา มาลาคันธะวิเลปะนะ-
ธาระณะ มัณฑะนะวิภูสะนัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง
สะมาทิยามิ
.........๘. อุจจาสะยะนะมะสะยะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง
สะมาทิยามิ

อิมัง อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง, พุทธะปัญญัตตัง อุโปสะถัง, อิมัญจะ
รัตติง อิมัญจะ ทิวะสัง, สัมมะเทวะ อะภิรักขิตุง สะมาทิยามิ (หยุดรับ
เพียงเท่านี้) ตอนนี้ พระสงฆ์จะว่า อิมานิ อัฏฐะ สิกขาปะทานิ อุโปสะถะ-
วะเสนะ มะนะสิกะริตวา สาธุกัง อัปปะมาเทนะ รักขิตัพพานิ (พึงรับ
พร้อมกันว่า) อามะ ภันเต
(พระสงฆ์ว่าต่อ)
สีเลนะ สุคะติง ยันติ สีเลนะ โภคะสัมปะทา
สีเลนะ นิพพุติง ยันติ ตัสมา สีลัง วิโสธะเย

.........พึงกราบพร้อมกัน ๓ ครั้ง ต่อนี้นั่งรอบพับเพียบประนมมือฟังธรรม
เมื่อจบแล้วพึงให้สาธุการและสวดประกาศตนพร้อมกัน ดังนี

สาธุ สาธุ สาธุ .........อะหัง พุทธัญจะ ธัมมัญจะ สังฆัญจะ สะระณัง คะโต (หญิงว่า คะตา)
อุปาสะกัตตัง (หญิงว่า อุปาสิกัตตัง) เทเสสิง ภิกขุสังฆัสสะ สัมมุขา
เอตัง เม สะระณัง เขมัง เอตัง สะระณะมุตตะมัง
เอตัง สะระณะมาคัมมะ สัพพะทุกขา ปะมุจจะเย
ยะถาพะลัง จะเรยยาหัง สัมมาสัมพุทธะสาสะนัง
ทุกขะนิสสะระณัสเสวะ ภาคี อัสสัง (หญิงว่า ภาคินิสสัง) อะนาคะเต ฯ

.........กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา
พุทเธ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง
พุทโธ ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง
กาลันตะเร สังวะริตุง วะ พุทเธ

.........กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะวา วา
ธัมเม กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง
ธัมโม ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง
กาลันตะเร สังวะริตุง วะ ธัมเม

.........กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา
สังเฆ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง
สังโฆ ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง
กาลันตะเร สังวะริตุง วะ สังเฆ ฯ 

คำอาราธนาธรรมพิเศษ จาตุททะสี ปัณณะระสี ยา จะ ปักขัสสะ อัฏฐะมี
กาลา พุทเธนะ ปัญญัตตา สัทธัมมัสสะวะนัสสิเม
อัฏฐะมี โข อะยันทานิ สัมปัตตา อะภิลักขิตา
เตนายัง ปะริสา ธัมมัง โสตุง อิธะ สะมาคะตา
สาธุ อัยโย ภิกขุสังโฆ กะโรตุ ธัมมะเทสะนัง
อะยัญจะ ปะริสา สัพพา อัฏฐิกัตวา สุณาตุ ตันติ ฯ

หมายเหตุ ถ้าวันพระ ๑๕ ค่ำ ว่า ปัณณะระสี ถ้า ๑๔ ค่ำ ว่า จาตุททะสี 

คำแผ่เมตตา .........สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลาย ที่เป็นเพื่อนทุกข์เกิดแก่เจ็บตายด้วยกัน
หมดทั้งสิ้น
.........อะเวรา จงเป็นสุข ๆ เถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย
.........สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์เกิดแก่เจ็บตายด้วยกัน
หมดทั้งสิ้น
.........อัพยา ปัชฌา จงเป็นสุข ๆ เถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกัน
เลย
.........สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลาย ที่เป็นเพื่อนทุกข์เกิดแก่เจ็บตายด้วยกัน
หมดทั้งสิ้น
.........อะนีฆา จงเป็นสุข ๆ เถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย
.........สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์เกิดแก่เจ็บตายด้วยกัน
หมดทั้งสิ้น
.........สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้น
จากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ท่านทั้งหลาย ที่ท่านได้ทุกข์ขอให้ท่านมีความสุข ท่าน
ทั้งหลายที่ท่านได้สุข ขอให้สุขยิ่ง ๆ
.........สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายที่เกิดเป็นชะลาพุชะ ที่เกิดเป็นอัณฑะชะ
ที่เกิดเป็นสังเสทะชะ ที่เกิดเป็นโอปปาติกะ จงมารับกุศลผลบุญให้ถ้วนทั่ว
ทุกตัวสัตว์
อะภิณหะปัจจะเวกขะณะ .........ชะรา ธัมโมมหิ ชะรัง อะนะตีโต (หญิงว่า อะนะตีตา) เรามี
ความแก่ชราเป็นธรรมดา เราไม่ล่วงพ้นความแก่ชราไปได้
.........พยาธิ ธัมโมมหิ พยาธิง อะนะตีโต (หญิงว่า อะนะตีตา) เรามี
ความไข้เจ็บเป็นธรรมดา เราไม่ล่วงพ้นความไข้เจ็บไปได้
.........มะระณะ ธัมโมมหิ มะระณัง อะนะตีโต (หญิงว่า อะนะตีตา)
เรามีความตายเป็นธรรมดา เราไม่ล่วงพ้นความตายไปได้
.........สัพเพหิ เม ปิเยหิ มะนา เปหิ นานาภาโว วินาภาโว คงมีแก่เรา
ความเป็นต่าง และความพลัดพรากจากสัตว์และสังขาร และความพลัดพราก
จากของที่น่ารักน่าชอบใจของเราทั้งหลาย
.........กัมมัสสะโกมหิ เรามีกรรมเป็นกรรมของตัว
.........กัมมะทายาโท เรามีกรรมเป็นผู้นำมามอบให้
.........กัมมะโยนิ เรามีกรรมเป็นผู้นำไปเกิด
.........กัมมะพันธุ เรามีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ และพวกพ้อง
.........กัมมะปะฏิสะระโณ เรามีกรรมเป็นเครื่องยุยงเป็นเครื่องระลึก
.........ยังกัมมัง กะริสสามิ กัลยาณัง วา ปาปะกัง วา เราจะทำ
กรรมอันใด ๆ ไว้ จะเป็นกรรมงามกรรมดีที่เป็นกุศลหรือ หรือจะเป็นกรรมชั่ว
กรรมลามกที่เป็นบาป
.........ตัสสะ ทายาโท ภะวิสสามิ เราจะต้องเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น 
บังสุกุล อะจิรัง วะตะยัง กาโย ปะฐะวิง อะธิเสสสะติ
ฉุฑโฑ อะเปตะวิญญาโณ นิรัตถังวะ กะลิงคะรัง
อะนิจจา วะตะ สังขารา อุปปาทะวะยะธัมมิโน
อุปปัชชิตวา นิรุชฌันติ เตสัง วูปะสะโม สุโข
คำลากลับบ้าน หันทะทานิ มะยัง ภันเต อาปุจฉามะ
พะหุ กิจจา มะยัง พะหุกะระณียา
.........พระสงฆ์ผู้รับลากล่าวคำว่า ยัสสะทานิ ตุมเห กาลัง มัญญะถะ
ผู้ลาพึงรับพร้อมกันว่า สาธุ ภันเต แล้วกราบ ๓ ครั้ง 

วันอังคารที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

อดกลั้น


เหล่าโจรผู้โหดเหี้ยม
เหล่าโจรผู้โหดเหี้ยม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ...
หากจะมีพวกโจรผู้มีความประพฤติต่ำช้า
เอาเลื่อยที่มีด้ามสองข้าง เลื่อยอวัยวะใหญ่น้อยของพวกเธอ
แม้ในเหตุนั้น ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดมีใจคิดร้ายต่อโจรเหล่านั้น
ภิกษุหรือภิกษุณีรูปนั้น ไม่ชื่อว่าเป็นผู้ทำตามคำสอนของเรา เพราะเหตุที่อดกลั้นไม่ได้นั้น

ภิกษุทั้งหลาย แม้ในข้อนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า
จิตของเราจะไม่แปรปรวน เราจักไม่เปล่งวาจาที่ชั่ว
เราจักอนุเคราะห์ผู้อื่นด้วยประโยชน์ เราจักมีเมตตาจิตไม่มีโทสะในภายใน
เราจักแผ่เมตตาจิตไปถึงบุคคลนั้น และเราจักแผ่เมตตาจิตอันไพบูลย์ใหญ่ยิ่งหาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาทไปตลอดโลก ทุกทิศทุกทาง ซึ่งเป็นอารมย์ของจิต ดังนี้

ภิกษุทั้งหลายพวกเธอพึงศึกษา ด้วยอาการดังกล่าวนี้แล

กกจูปมสูตร เล่ม ๑๘ หน้า ๒๖๙

วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ปฐมบทแห่งพระมหาโพธิสัตว์ ( พระพุทธเจ้า สมณโคดม )

เริ่มปรารถนาบารมียังอ่อนอยู่ 

เมื่อ เริ่ม ต้นอสงไขยที่ 21 จาก ปัจจุบัน มีอยู่กัปหนึ่งบังเกิดมีพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้นในโลก เมือโลกดับสลายไปแล้ว หลังจากนั้นเป็น สูญกัป คือไม่มีพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น ติดต่อกันเป็นประมาณ 2 แสนกัป พระอริยะต่างก็นิพพาน ไปเกือบหมดแล้ว ยังมีแต่บนพรหมโลกชั้นสุทาวาส อันเป็นพรหมโลกที่พระอนาคามี อาสัยอยู่เป็นภพสุดท้าย ก่อนที่จะเข้าสุ่พระนิพพาน เมื่อเวลาผ่านไปพระพรหมอนาคามี เริ่มเหลือน้อยลงเรื่อยๆ เพราะต่างก็นิพพานกันไปหมด และผู้ที่จะมาเกิดเป็นพรหมอนาคามี ก็หาได้มีอีกแล้ว เพราะพระอริยะเบื่องต่ำต่างก็บรรลุมาเกิดเป็นพรหมอนาคามีทั้งหมดแล้ว เห่ลาพระพรหมอนาคามีจึงประชุมร่วมกัน และดำริขึ้นว่า พระพรหมอนาคามีเหลือน้อยแล้ว เพราะไม่มีพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น เป็นเวลาประมาณ 2 แสนกัปมาแล้ว และเมื่อเหล่าพระอนาคามี ใช้ อนาคตังคญาณ มองไปในอนาคตก็หาได้มี พระพุทธเจ้า บังเกิดขึ้นไม่ จึงดำริขึ้นมาว่า ถ้าเป็นอย่างนี้บ่อยๆ ก็ทำให้เหล่าสรรพสัตว์ต่างก็ฉิบหาย จากพระนิพพานมากเสียเหลือเกิน เพราะผู้ที่เป็นเอกบุรุษท เพียรสร้างบารมีจนสำเร็จเป็น พระพุทธเจ้า นั้นมีน้อย จำเป็นต้องหาผู้ที่มีน้ำใจเด็ดเดี่ยวตั้งความปรารถนา เพื่อรื้อสรรพสัตว์ทั้งหลายให้พ้นจากทุกข์ ดังนั้นเหล่าพระอนาคามีต่างก็ใช้ พระญาณ ตรวจส่อง ทั้งเทวโลก และมนุษย์โลก เพื่อหาผู้ที่มีน้ำใจเด็ดเดี่ยวอย่างนั้น 

มานพน้อยผู้เด็ดเดี่ยว 

ก็ได้เห็นมานพน้อยคนหนึ่ง กำลังแบกแม่ของตนเองว่ายน้ำอยู่กลางทะเลใหญ่ พยายามว่ายน้ำอยู่อย่างไม่ท้อแท้และท้อถอย ตั้งจิตเพื่อให้ถึงฝังให้จงได้ เมื่อใช้ญานย้อนดูไปในอดีตก่อนหน้านี้ ก็เห็นว่ามานพคนนี้ เป็นคนกตัญญูต่อมารดา เป็นคนดีมีศีลมีธรรม ไม่เอาเปรียบหรือเบียดเบียนผู้อื่น จึงเผ้าดูน้ำใจก็มานพน้อยผู้นี้ ว่ายน้ำต่อไปจะมีใจท้อแท้หรือไม่ แต่เปล่าเลยถึงว่ายน้ำมาถึง วันที่ 7 แล้วก็ตาม และกำลังอ่อนล้าเต็มที่แต่ยังมีจิตใจมุ่งมั่นให้ถึงฝั่งจนได้ พระพรหมอนาคามี จึงดลจิตให้มีกำลังอึกเหิมขึ้น ให้มานพตั้งจิตว่า " เราจะว่ายน้ำให้ถึงฝั่งให้สำเร็จ พร้อมกับนำพาแม่ให้ถึงฝั่งด้วย และ เมื่อเราพ้นทุกข์เราต้องนำผู้อื่นให้พ้นทุกข์ด้วยให้จงได้" มานพ น้อยก็เกิดกำลังใจขึ้นมา ว่ายน้ำต่อจนถึงฝั่งพร้อมกับหมดสติพอดี หลังจากนั้นก็มีคนมาพบ และช่วยให้พื้นคืนสติทั้งแม่และลูก ก็ได้ดำรงณ์ชีวิตโดยไม่ลำบากนัก ตามกรรมจน สิ้นอายุขัย หลังจากนั้นก็เวียนเกิดตายอีกนานแสนนาน 

สัตตุตาประราชา 

หลังจากเกิดตายมานานแสนนาน ก็ได้เกิดเป็นราชโอรส และได้ขึ้นครองราชสมบัติ มีพระนามว่า พรสัตตุตาประราชา พระองค์ปกครองประชาราช ด้วยทศพิธราชธรรม แต่พระองค์ทรงพอพระทัยในช้างมงคลอย่างมาก คือชอบสะสมช้างมงคล ไม่ว่าจะได้ข่าวว่าช้างมงคลอยู่ส่วนใหนของราชธานี พระองค์ต้องตามจับมาจนได้ กาลครั้งหนึ่งได้มีนายพราน เข้ามาถวายรายงานว่า ได้พบช้างมงคล เชือกหนึ่งซึ่งมีลักษณ์สมบูรณ์พร้อมทุกประการ ตั้งแต่เกิดมาเป็นพรานยังไม่เคยเห็นช้างเชือกใหน มีลักษณะเลิศอย่างนี้มาก่อนเลย เมื่อพระองค์ทรงทราบอย่างนั้นจึงทรงให้นายพรานผู้นั้น นำขบวนเพื่อไปจับช้าง เมื่อทรงเห็นช้าง เชือกนั้น พระองค์ทรงดีพระทัยเป็นอย่างมาก และสามารถล้อมจับจนได้โดยไม่ยาก ได้ทรงให้นายหัตถาจารย์ผู้ฝึกช้าง ฝึกจนเชื่อง แต่พระสัตตุตาประราชา ทรงรีบพระทัย เพื่อจะทรงช้างเชือกนี้ ในวันมงคลฉลองนักขัตฤกษ์ ใน 7-8 วันข้างหน้า นายหัตถาจารย์ผู้มีความรู้ จึงต้องให้อาหารผสมกับโอสถ เพื่อให้ฝึกสอนได้ง่ายโดยเร็วพลัน เมื่อถึงวันทรงช้างเชือกนี้ในวันฉลองนักขัตฤกษ์ พระองค์ก็ทรงช้างเลียบเมือง ที่เป็นเขตป่า แต่ในเมื่อราตรีที่ผ่านมาที่ราวป่าแห่งนั้น มีโขลงช้างได้ถ่ายมูลลงไว้ ณ. ที่นั้น ดังนั้นเมื่อช้างมงคลที่พระสัตตุตาประราชา ทรงประทับอยู่ เกิดได้กลิ่นมูลของช้างตัวเมืย เกิดตกมันออกวิ่งตามโขลงช้างนั้นทันที่ ไม่สนใจ มนุษย์ที่นั่งอยู่บนหลัง สะบัดจนตกหมด เหลือแต่พระสัตตุตาพระองค์เดียว พระองค์ทรงตกพระทัย แต่ยังคงครองสติไว้ เมื่อช้างวิ่งผ่านต้นไม้ใหญ่ ที่มีกิ่งยื่นออกมา พระองค์ทรงจับกิ่งไม้นั้นปล่อยให้ช้างวิ่งไปตามอิสระของมัน เมื่อเหล่าทหารตามมาทันก็เชิญพระองค์ ลงมา พระองค์ทรงโกรธพระทัยเป็นอย่างมาก เมื่อกลับมาถึงราชฐาน ทรงให้เรียกนายหัตถาจารย์ เข้ามาเฝ้า แล้วทรงชี้หน้าด่าว่าอย่างโกรธเคืองว่า " เจ้าฝึกช้างอย่างไร เกื่อบจะฆ่าข้าเสียแล้ว สมควรที่จะถูกประหาร ? " นายหัตถาจารย์ผู้มีปัญญาจึงกล่าวว่า " ขอให้พระองค์ทรงฟังเหตุผลก่อน ข้าพระองค์ไม่เคยคิดปลงพระชนน์พระองค์เลย ขอพระเมตตา" 
พระสัตตุตาประราชา พระทัยอ่อนลงมาอีกนิดจึงตรัสว่า "ดังนั้นให้เจ้าเล่าเหตุผลมา" 

นายหัตถาจารย์ทูลว่า "การที่ช้างมงคล ออกวิ่งไปนั้นเพราะตกมัน ได้กลิ่นช้างพังตัวเมืย ที่ถ่ายมูลไว้ที่ราวป่าเพราะความอยากจะ เสพสังวาส กับช้างตัวเมีย จึงไม่สนใจแม้ความเจ็บ และความตายอะไรทั้งสิ้น ถึงแม้จะถูกตะขอสับและถูกฝึกอย่างดีมาแล้วก็ตามแต่" 
พระสัตตุตาประราชาตรัสว่า "เอาละข้าฟังเหตุผลนี้ของเจ้า แต่การที่ช้างมงคลหลุดหนีออกไปโทษของเจ้าก็สมควรถูกประหาร" 
นายหัตถาจารย์ทูลว่า "ช้างที่ข้าพระองค์ฝึก จะไม่หนีไปใหน และจะกลับมาหาข้าพองค์อีก เพราะมนตราและโอสถที่ข้าพระองค์ให้ไว้ ในวันพรุ่งนี้ เช้า เมื่อช้างมงคลเชือกนั้นได้รวมสังวาสกับช้างพังตัวเมียแล้ว จะกลับมา" 
พระสัตตุตาประราชาจึงตรัสว่า "ถ้าเป็นจริงตามที่เจ้ากล่าว ข้าจะยกโทษประหาร แต่ถ้าไม่เป็นจริงเจ้าต้องถูกประหารแน่นอน" 
ในวันถัดมาช้างมงคลตัวนั้นก็กลับ มาจริง จึงมาไว้ที่ลานช้าง พระสัตตุตาและข้าราชบริภารและชาวเมื่อออกมาเยียมดู พระสัตตุตาประราชาจึงถามนายหัตถาจารย์ด้วยความสนพระทัยว่า "มนตราและโอสถของเจ้า มีความขลังอย่างนี้เชียวหรือ? " 
นายหัตถาจารย์ทูลว่า "อย่าว่ากลับมาเลย แม้ข้าพระองค์ให้ช้างมงคลตัวนี้เอางวงจับเหล็กร้อนแดง มันก็ย่อมทำตาม หม่อมฉันจะทำให้ดู" 
พระสัตตุตาประราชาจึงตรัสว่า " เอาก็ลองพิสูจ์ดู" 
เมื่อถึงวันทดลอง เมื่อช้างมงคลตัวนั้นได้รับคำสั่งจากนายหัตถาจารย์ ก็ใช้งวง ไปจับเหล็กร้อนแดงนั้นจริงๆ จนควันขึ้น พระสัตตุตาประราชา เพราะความรักช้างและตกพระทัยจึงรีบร้องสั่ง ให้นายหัตถาจารย์สั่งให้ช้างมงคลปล่อยเหล็กแดงทันที่ แล้วทรงดำริในพระทัยว่า 

"ช่างมงคลย่อมทำตามจับ เหล็กร้อนแดงได้ โดยยอมทนต่อความเจ็บปวดจวนตายเพราะมนตราและโอสถ แต่มนตราและโอสถ และถูกเอาตะขอสับจนเจ็บปวด ไม่สามารถหยุดช้างมงคลได้เพราะอำนาจของราคะ โอ้ กามราคะมีอำนาจมากเหลือเกิน เมื่อไหร่เราหลุดพ้นหรือชนะกามราคะแล้ว เราจะนำพาให้สรรพสัตว์หลุดพ้นด้วยให้จงได้" 

พระองค์ทรงตั้งพระทัยอย่างแนวแน่และมั่นคง หลังจากนั้นไม่นาน พระองค์ก็ทรงออกบวช เป็นดาบส จนสิ้นพระชนน์ เวียนเกิดตายไปอีกนานแสนนาน 

พระสัตตุตาปะราชา กลับชาติมาเกิดเป็น องค์สมเด็จพระศรีศากยมุนีโคดมพุทธเจ้า 

พญาช้างมงคล กลับชาติมาเกิดเป็น พระมหากัสสปเถร เป็นมหาสาวก 

นายหัตถาจารย์ กลับชาติมาเกิดเป็นพระอชิตะโพธิสัตว์ ที่จะตรัสเป็นพระศรีอริยเมตไตรพุทธเจ้าในสมัยต่อจากนี้ 


เสวยชาติเป็นพระพรหมดาบส 

กาลต่อมาพระโพธิสัตว์จุติจาก เทวโลก ก็มาบังเกิดในตระกุลพราหมณ์มหาศาล มีนามว่า พรหมกุมาร พรหมกุมารได้ศึกษาไตรเวทย์ และได้เป็นอาจารย์บอกเวทย์แก่มานพห้าร้อยคนที่เป็นศิษย์ เมื่อมารดาบิดาของพรหมกุมารได้ล่วงลับไปแล้ว พรหมกุมารจึงดำริออกบวชเป็นดาบส จึงได้จัดการแบ่งทรัพย์สินตั้งสิ้น ให้แก่บรรดาลูกศิษย์ทั้งหมด แล้วกล่าวว่า อาจาย์จะออกบวชเป็นดาบส ฝ่ายลูกศิษย์ก็ทักท้วงแต่ไม่สำเร็จ ดังนั้นเมื่อลูกศิษย์บางส่วนเห็นอาจารย์ออกบวช จึงออกบวชตามพรหมดาบส อยู่ในป่าบนเชิงภูเขา บำเพ็ญพรตอยู่เรือยมา และลูกศีษย์ที่เหลือเมื่อบิดามารดาสิ้นแล้ว ก็ออกบวชตามพรหมดาบส 

วันหนึ่ง พรหมดาบส ออกปากชวนลูกศิษย์ ออกไปหาผลไม้ ไปถึงเชิ่งเขาหนึ่ง เมื่อมองลงไปเบื้องล่าง เห็นลูกเสือ เพิ่งคลอดใหม่ประมาณ สองสามวัน และแลเห็นแม่สือตัวหนึ่งที่กำลังหิวโซระโหยโรยแรง เพราะอดอาหารมาหลายวัน จ่องจะกินลูกเสือ จึงกล่าวกับลูกศิษย์ว่า ดูสิ แม่เสือกำลังจะกินลูกเสือเพราะความหิว พวกเธอจงไปหาซากสัตว์ที่ตายใหม่แถวนี้ โยนลงไปให้แม่สือได้กิน จะได้ยับยั่งไม่ให้แม่เสือกินลูกเสือ ลูกศิษย์ก็ออกหาซากสัตว์ ได้สักพัก พรหมดาบสเฝ้ามองดูกริยาของแม่เสืออยู่ เห็นแม่สือต้องตะครุบกินลูกเสือแน่ จึงตั้งใจสละชีวิตร่างกายเป็นทาน อย่างเด็ดเดี่ยว แล้วตั้งปณิธานว่า "เราขอสละชีวิตเป็นทานเป็นอาหารของแม่เสือ เราปราถาเพื่อปลดทุกข์ของสัตว์ทั้งหลายที่กำลังเป็นทุกข์ ให้พ้นจากทุกข์" แล้ว ประกาศออกว่า "ขอทวยเทพทั้งหลายทรงรับรู้ เราจะถวายร่างกายและชีวิตนี้เป็นทานให้แก่แม่สือเพื่อรักษาชีวิตลูกเสือ เราปราถนาจะรื้อสัตว์ทั้งหลายออกจากความทุกข์ ขอให้ทวยเทพเทวดาจงมากระทำอนุโทนาสาธุการด้วยเทอญ" แล้วพรหมดาบสจึงกระโดดลงไปเบื้องล่าง ร่างกายตกบงเบื้องหน้าแม่สือทันที่ แล้วไปจุติบนเทวโลก หลังจากนั้นก็เวียนเกิดเวียนตาย อีกนานแสนนาน 


มานพหนุ่มช่างทอง 

กาลต่อมาพระโพธิสัตว์ได้เกิดเป็น บุตรของช่างทอง และเป็นมานพหนุ่มช่างทองมีรูปสิริเลิศงดงาม ในเมื่องแห่งนั้น มีฝีมือในการทำทองนั้นยอดเยียม ชื่อเสียงในการทำทองขจรไปไกล เพราะความมีฝีมือนี้เอง ได้มีเศรษฐีของเมื่องมาทำการว่าจ้างให้ทำทองรูปพรรณ ให้บุตรสาวที่จะเข้างานวิวาห์มงคล เมื่อเห็นรูปร่างของหนุ่มช่างทองก็เกิดรังเล แต่ไม่สามารถหาช่างทองที่ฝีมือดีกว่านี้ได้อีกเลย จึงกล่าวกับหนุ่มช่างทองว่า ถ้าท่านเห็นมือ และเท้าของบุตรสาวของเราอย่างเดียวท่านสามารถทำทอง ได้สวยสดงดงามหรือไม่? หนุ่มช่างทองก็บอกว่าทำได้ เหตุผลของท่านเศรษฐีทำแบบนี้ เพราะบุตรสาวเป็นหญิงที่สวดสดงดงาม เมื่อเห็นหน้าตากันจะทำให้ทั้งสองเกิดหวั่นไหว มีปัญหาในการแต่งงานของลูกสาวกับบุตรชายของเพื่อนเศรษฐี ที่หมั่นหมายไว้แล้วเป็นการตัดไฟเสียต้นลม 

เมื่อถึงวันที่หนุ่มช่างทอง ทำการตรวจวัดมือและเท้าของบุตรสาวเศรษฐี ที่บ้านของเศรษฐี ท่านเศรษฐีได้ทำฉากกั่น ให้บุตรสาวยื้นเฉพาะมือและเท้าออกมาเท่านั้น แต่บุตรสาวเกิดความสงสัยว่าทำไม่บิดาจึงทำอย่างนี้ ในขณะที่หนุ่มช่างทองกำลังตรวจวัดอยู่ บุตรสาวเศรษฐี ก็แอบดูตามช่องที่มองเห็นได้ เมื่อเห็นรูปร่างหนุ่มช่างทองเกิดหลงรักทันที จึงทำการเขียนอักษร นัดแนะหนุ่มช่างทองทันที่ ว่าในค่ำคืนนี้นัดเจอกันที่ส่วนหลังบ้านที่เป็นต้นไม้ใหญ่ ฝ่ายหนุ่มช่างทองเมื่อเสร็จภารกิจ ก็กลับไปยังเรือนของตน ทำงานทำทองตลอด 
เมื่อตกค่ำก็อาบน้ำแต่งตัวออกไป ตามนัด ที่ กาญจนวดีกุมารีบุตรสาวเศรษฐีได้เขียนอกษรไว้ แต่มานพหนุ่มช่างทองมาถึงต้นไม้ใหญ่ก่อน นั่งรออยู่ เพราะทำงานมาทั้งวัน เมื่อเจอบรรยากาศร่มรื่นจึงเผลอหลับไป เมื่อนางกาญจนวดีกุมารีมาถึงก็เห็นหนุ่มช่างทองหลับไปแล้ว ซึ่งในสมัยนั้นมีการถือกันว่า ถ้าผู้ใดนอนหลับอยู่ห้ามปลุกขึ้นมาเพราะจะเป็นบาป นางจึงนั่งรอเป็นเวลาพักใหญ่ เห็นว่าไม่ตื่น จึงว่าขันใส่ดอกไม้ไว้ แล้วเขียนอักษรไว้ว่า นางได้มาแล้วแต่ท่านหลับอยู่ จึงว่างขันดอกไม้ไว้ให้ทราบ และในราตรีต่อไปขอนัดเจอที่เดิม แล้วจากไป เมื่อหนุ่มช่างทองตืนขึ้นมาเห็นขันดอกไม้ จึงรู้ว่านางได้มาแล้วและได้อ่านข้อความที่นางเขียนไว้ 

ตกค่ำวันต่อมาหนุ่มช่างทองก็ออกไป ตามนัดเหมือนเดิม ก็ไปถึงต้นไม้ใหญ่ก่อนอีก ด้วยความอ่อนแรงจากการงานจึงเผลอหลับไปอีก นางกาญจนวดีกุมารีเมื่อมาถึงก็เห็นหลับเหมือนเดิม จึงเขียนอักษรนัดแนะเหมือนเดิม หนุ่มช่างทองเมื่อตื่นขึ้นมาก็พบอักษรที่นัดแนะ ก็ให้นึกโกรธตนเองที่เผลอหลับมาสองวันแล้ว 

พอตกค่ำวันที่ 3 ครั้งนี้หนุ่มช่างทองพยายามเตือนตนเองอย่างเต็มที่ไม่ให้เผลอหลับ แต่ต้านไว้ไม่อยู่เลยเผลอหลับไปอีก เมื่อกาญจนวดีกุมารี มาเห็น ก็คิดว่า บุญไม่ต้องกันที่จะได้อยู่ร่วมกัน เพราะตนจะเข้างานวิวาห็ นางจึงวางขันดอกไม้ไว้อย่างเดียว ให้รู้ว่านางได้มาตามนัดแล้ว แต่ครั้งนี้ไม่ได้เขียนอักษนัดแนะประการใด เมื่อหนุ่มช่างทองตื่นขึ้นมา ก็โกรธตนเองที่เผลอหลับ จึงกลับบ้านด้วยความผิดหวังที่จะดูหน้าและรูปร่างเพียงสักครั้ง 

แล้วนางกาญจนวดีกุมารี ก็เข้าวิวาห์กับบุตรชายเศษรฐี ตามกำหนดการ ฝ่ายหนุ่มช่างทองก็คล่ำครวญถึงนางกาญจนวดี ว่าสมควรจะอยู่ร่วมภิรมณ์กับตนและควรเป็นของเรา เพราะหญิงก็มีใจกับตน จึงคิดหาอุบาย ได้ทำเครืองทองที่ดีเลิศขึ้นมาชุดหนึ่ง แล้วนำไปถวาย มหาอุปราช มหาอุปราชทรงพอพระทัย จึงทรงถามหนุ่มช่างทองว่า มีประสงค์อันใดที่นำเครื่องทองอันดีเลิศมาถวาย หมุ่นช่างทองจึงบอกจุดประสงค์ มหาอุปราชจึงรับปากและจะออกอุบายช่วยเหลือ หลังจากนั้นก็ให้หนุ่มช่างทองแต่ตัวเป็นสตรี ปลอมเป็นน้องหญิงของมหาอุปราช แล้วทรงกระบวนช้างผ่านไปยังบ้านเศรษฐีแล้วตรัสบอกกับท่านเศษรฐีว่า จะเอาน้องหญิ่งมาฝาก ที่บ้านเศรษฐี เพราะออกไปปราบข้าศึกที่ชายแดน และห็นว่าท่านได้สร้างเรื่อนใหม่ ที่พอจะฝากน้องหญิงได้ 

แล้วมหาอุปราชถามอีกว่า "เรือนนั้นเป็นเรื่อนของใครของใครหรือ? " 
เศรษฐีจึงตอบว่า "เป็นเรือนของบุตรสาวที่พึ่งแต่งงาน" 
มหาอุปราชกล่าว "อย่างนั้นก็ดีสิ ! จะได้ให้น้องหญิงพักอยู่ที่นั้น และจะได้ให้บุตรสาวของท่านอยู่เป็นเพื่อนของน้องหญิง ให้นางงดการอยู่ร่วมกับสมามีชั่วคราว ห้ามผู้ชายแม้กระทั้งสามีของบุตรสาวท่านเข้าไปในส่วนของชั้นเรือนที่น้อง หญิงพักอยู่ โดยมีบุตรสาวของท่านอยู่เป็นเพือน แล้วเราจะกลับมารับหนึ่งหญิงในภายหลัง" 
เศรษฐีด้วยความเกรงในอำนาจของอุปราช และเห็นว่าท่านอุปราชทรงห่วงใยน้องหญิงคนนี้มาก จึงรับทำตามที่มหาอุปราชกับชับด้วยความเต็มใจ 

หลังจากนั้นหนุ่มช่างทองได้อยูร่วมกับนางกาญจนวดี เป็นเวลา 3 เดือนโดยไม่มีใครรู้เรื่องเลย จนมหาอุปราชมารับกลับไป 
ด้วยผลกรรมที่พระโพธิสัตว์ ผิดลูกผิดเมียของผู้อื่นเมื่อสิ้นอายุขัยของตกนรกทันที่ เวียนเกิดตายระหว่างอบายภูมิ(ภพต่ำ)เป็นเวลานาน แล้วเกิดเป็นกระเทยและเป็นผู้หญิง เป็นพันชาติ รวมเวลา ถึง 14 มหากัป 
เมื่อทำกรรมหนักเพียงชีวิตเดียว ก็ตกลงในภพภูมิที่ต่ำจะทำให้สร้างบุญกุศลนั้นยาก เพราะใจจะตกต่ำไปด้วย ย่อมกระทำกรรมเล็กๆ น้อยๆ ไปเรี่อยกว่าจะหลุดพ้นมาได้ก็ใช้เวลาหลายมหากัป นับประสาอะไรกับผู้ที่ไม่ปรารถนาสร้างบารมี(อย่างใดอย่างหนึ่งในพุทธศาสนา) จะวนเวียนอยู่โดยไม่รู้ทิศรู้ทางเป็นเวลานานนับแสนแสนอสงไขย จนประมาณไม่ได้ 

เจ้าหญิงสุมิตตาเทวี 

จากกรรมที่พระโพธิสัตว์ทำผิดศีล กาเมมิจฉา แล้วตกนรก เป็นเวลานานแสนนาน หลังจากนั้น ถือกำเนิดเป็น ฬา เป็นโค เป็นคนพิการ เป็นตาบอด เป็นคนหูหนวก เป็นกระเทย และเป็นสตรี อย่างละ 500 ชาติ เป็นการชี้ให้เห็นว่า เป็นมนุษย์ผิดศีลอย่างเด็ดขาด ด้วยอำนาจแห่ง โทสะ และราคะ อย่างรุนแรง และติดต่อกันเป็นเวลานาน เป็นเดือน หลังจากนั้นไม่ได้สร้างบุญกุศลกรรม ที่ประกอบด้วยศรัทธาอย่างแรงกล้าต่อ ผู้บริสุทธิ์ด้วยศีลพรต หรือต่อธรรมที่กำหนดให้รักษาศลี 5 อย่างศรัทธา ในภายหลัง บาปที่ทำไปแล้วนั้นมีกำลังรุนแรง ให้เป็นชนกกรรม คือจะส่งผลทันที่เมื่อได้ตายไปจากภพปัจจุบัน สัตว์ใดที่ทำบาปอย่างรุนแรง เมื่อตกลงเบื้องต่ำอบายภูมิ จะหลุดออกจากอบายภูมิโดยเร็วพลันนั้นอยากยิ่ง 

มากล่าวถึงพระโพธิสัตว์เสวยเศษ กรรมชาติสุดท้าย ด้วยมีบุญเก่าหนุนนำ จึงเกิดเป็นสตรีในวงค์กษัตริย์ ทรงพระนามว่าเจ้าฟ้าหญิงสุมิตตาราชกุมารี เป็นธิดาของพระเจ้าสุปปบุตรมหาราช และในกัปนั้นเป็นสารกัป เพราะ มีพระพุทธเจ้าเสด็จมาอุบัติ เพียงพระองค์เดียว ทรงพระนามว่า พระปุราณทีปังกรพุทธเจ้า พระองค์ เป็นราชบุตรของพระเจ้าสุปปบุตรมหาราช แต่ต่างมารกับเจ้าหญีงสุมิตตาเทวี และพระพุทธเจ้ามีฐานะเป็นพี่ชายของพระนาง เมื่อพระปุราณทีปังกรพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น พระทรงทำให้พระธรรมปรากฏขึ้น ทำให้สรรพสัตว์ทั้งหลายต่างได้รับรสพระธรรมนั้น จำนาณมากมายเหลือคณานับ บังเกิด พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นรัตณตรัย กระจรไปทั่วสากลจักรวาล 
กล่าวถึงพระนางสุมีตตาเทวี ด้วยความศรัทธาเชื่อมั่นในพระเชษรฐาเป็นทุนเดิม เมื่อพระเชษรฐา ตรัสรู้เป็นพระบุราณทีปังกรพุทธเจ้า ความศรัทธาย่อมมีมาขึ้นเป็นทวีคุณ 

วันหนึ่งเวลาใกล้คำพระนางยืนอยู่ บนปราสาทมองลงมาเบื้องล่าง ก็เห็นพระภิกษุรูปหนึ่งมาบิณฑบาต อยู่ที่หน้าราชวังของพระนาง จึงคิดในพระทัยว่า " พระคุณเจ้ามาบิณฑบาตอะไรหนอ ถึงได้มาใก้ลค่ำ" จึงทรงสั่งให้บุรุษรับใช้ไปถามพระภิกษุ พระภิกษุรูปนั้นบอกว่า จะมาบิณฑบาตน้ำมัน เมื่อพระนางทรงทราบ จึงได้อาราธนาพระผู้เป็นเจ้าขึ้นมา ณ อาสนะ อันสมควร แล้วพระนางทรงดำรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้า มีความประสงค์น้ำมันไปเพื่อทำอะไร?" พระผู้เป็นเจ้าตอบว่า 
" อาตมา บิณฑบาตน้ำมันเป็นอันมากเพื่อ จุดประทีปมากมาย ทำการสักการะบุชาแด่พระปุราณทีปังกรพุทธเจ้า จนสิ้นราตียันรุ่งสาง พร้อมทั้งมีเหล่าพระอริยะสงฆ์มาประชุมพร้อมกัน อาตมารับทำภารกิจนี้เสมอมา" พระนางสุมิตตาเทวีได้รับทราบดังนั้นมีศรัทธาเป็นอันมาก ก็ดำริในพระทัยว่า "พระเชษฐาของ เราได้ตรัสเป็นพระพุทธเจ้า ทรงทำประโยชน์อย่างใหญ่หลวงต่อมวลสรรพสัตว์ทั้งหลาย ในกาลเบื้องหน้าขอให้เราได้ตรัสเป็นพระพุทธเจ้า เพื่ออนุเคราะห์แก่สัตว์โลกเหมือนพระองค์" 

หลังจากนั้นพระนางทรงเอาน้ำมันถวายพระคุณเจ้า จนเต็มบาตร พร้อมทั้งกล่าววาจาปณิธานว่า 

"ด้วย อนิสงสผลทานนี้ ขอจงเป็นปัจจัยให้ความปรารถนาของข้าพเจ้าจงสำเร็จผลตามที่ปรารถนา และขอให้พระคุณเจ้าจงมีจิตช่วย กราบทูล พระองค์ด้วยว่า พระน้องนาง ของพระพุทธองค์ ซึ่งมีนามว่า สุมิตตากุมารี มีความศรัทธาเป็นยิ่งนักขอกราบแทบพระบาท พระพุทธองค์ และขอตั้งความปารถนาว่า ด้วยผลบุญนี้จง เป็นปัจจัยในอนาคต ให้ได้ตรัสเป็นพระพุทธเจ้าสักพระองค์หนึ่ง และขอให้มีพระนามว่า สิทธัตถะเหมือนด้วยชื่อนำมันพันธุ์ผักกาดนี้ด้วยเถิด" 

หลังจากนั้นพระนางก็ส่งพระคุณเจ้ากลับไป ฝ่ายพระคุณเจ้า ครั้งนี้ได้น้ำมันมากกว่าทุกวันที่แล้วมา จึงจุดประทีปได้สว่างไสว มากกว่าทุกวัน ครั้นแล้วก็เข้าไปกราบทูลสมเด็จสัมมาพระพุทธเจ้าว่า 
" ข้าแต่พระผู้มีพระภาค คืนนี้ข้าพระองค์ได้จุดประทีปบูชาได้มากกว่าคืนก่อนๆ ด้วยน้ำมันพันธุ์ผักกาดอันพระน้องนางสุมิตตาเทวีของพระองค์ถวายมา และพระนางกล่าววาจาอธิษฐานว่า พระนางมีความศรัทธาเป็นยิ่งนักขอกราบแทบพระบาท พระพุทธองค์ และขอตั้งความปารถนา ด้วยผลบุญนี้จง เป็นปัจจัยในอนาคต ให้ได้ตรัสเป็นพระพุทธเจ้าสักพระองค์หนึ่ง และขอให้มีพระนามว่า สิทธัตถะเหมือนด้วยชื่อนำมันพันธุ์ผักกาดนี้ด้วยเถิด ข้าพระองค์จึงขอโอกาสกราบทูลถามต่อพระองค์ว่า ความปารถนาของพระน้องนางจะสำเร็จหรือไม่ พระเจ้าข้า ?" 
พระพุทธองค์เมื่อได้สดับฟัง จึงตรัสว่า " พระน้องนาง ยังเป็นสตรีเพศอยู่ จึงยังไม่สมควรรับลัทธยาเทศพยากรณ์" 

พระคุณเจ้าจึงทูลถามต่อ "ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็พระน้องนางของพระองค์จักไม่มีโอกาสได้สำเร็จพระพุทธภูมิเลยหรือ พระเจ้าข้า" 
พระพุทธองค์จึงทรงพิจารณาดูในอดีด ภาคของพระน้องนาง ก็ทรงทราบว่า พระน้องนางสุมิตตาเทวี ได้เคยปรารถนาพุทธภูมิไว้นานนักหนา เมือต้นอสงไขย ตั้งแต่เป็นมานพแบกมารดาว่ายข้ามมหาสมุทร และมีทรงพิจารณาดูไปในอนาคต ก็ทรงทราบ ว่าพระน้องนาง อาจสำเร็จซึงพุทธภูมิตามความปรารถนา พระพุทธองค์จึงทรงตรัสว่า 

"กาล ข้างหน้า นับจากนี้ไป 16 อสงไขยเศาแสนกัป จักมีพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่าทีปังกร ซึ่งมีนามเสมอกับเรานี้ อุบัติขึ้นในโลก แล้วพระน้องนางจะได้รับลัทธยาเทศพยากรณ์ในสำนักของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธ เจ้าพระองค์นั้น" 

เมื่อพระคุณเจ้าได้รับฟังคำตรัส ของพระพุทธองค์ ก็กราบทูลลา หลังจากนั้นก็ได้ไปยังปราสาท ของพระนางสุมิตตาเทวี แล้วบอกข้อความ แก่พระนางตามที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสทุกประการ นำความปีติแก่พระนางเป็นอย่างยิ่ง จึงกล่าวปวารณา ให้พระคุณเจ้า จงมารับน้ำมันในสำนักของพระนางทุกวัน 

ในวันถัดมาพระนางสุมิตตาราชกุมารี ก็จัดแจงอาหารอย่างประณีตเป็นอันมาพร้อมทั้งเครื่องสักการะบูชาถวายบิณฑบาต แก่หมู่ พระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ด้วยความเลื่อมใสเป็นอย่างยิ่ง และพระนางทรงเบื่อหน่ายเพศสตรีเป็นกำลัง ครั้นสิ้นอายุขัย ก็ได้เสวยทิพยสมบัติในดุสิตเทวโลก

หลังจากนั้นก้อผ่านไปนานถึงประมาณ 16 อสงไขย อีก แสน กัป หลังจากบำเพ็ญบารมี มา ยาวนาน พระโพธิสัตว์เราก้อได้เกิดมาเป็น 

สุเมธดาบส และก้อได้รับการพยากรณ์ให้เป็นครั้งแรกว่าจะตรัสรู้เป็น พระพุทธเจ้าในภัทรกัป มีนามว่า โคตมะ ก้อคือพระพุทธเจ้าของเราตอนนี้นั้นเอง

วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

วาจา


วาจาที่ไม่จริง ไม่แท้ ไม่มีประโยชน์
และวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น
ตถาคตไม่กล่าววาจาเช่นนั้น

วาจาที่จริง แท้ แต่ไม่มีประโยชน์
และวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น
ตถาคตไม่กล่าววาจาเช่นนั้น

วาจาที่จริง แท้ มีประโยชน์
แต่วาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น
ในข้อนี้ตถาคตย่อมรู้กาลที่พูด

วาจาที่ไม่จริง ไม่แท้ ไม่มีประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น
ตถาคตไม่กล่าววาจาเช่นนั้น

วาจาที่จริง แท้ ไม่มีประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น
ตถาคตไม่กล่าววาจาเช่นนั้น

วาจาที่จริง แท้ มีประโยชน์
และวาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น
ในข้อนั้นตถาคต ย่อมรู้กาลที่จะพูด

ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะตถาคตมีความเอ็นดูในสัตว์ทั้งหลาย

พระพุทธพจน์ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

วันจันทร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2555

เปลี่ยนตัวเอง

จำได้ว่าเมื่อสมัยเด็กๆ ตอน 7-8 ขวบ เคยเห็น ข้อความนี้

                         พูดมาก   ผิดมาก
                        พูดน้อย   ผิดน้อย
                          ไม่พูด   ไม่ผิด
                     นิ่งเสีย   พระโพธิสัตว์

เป็นโปสเตอร์ภาพพระพุทธเจ้านั่งสมาธิ  และมีข้อความอยู่ข้างใต้ภาพ

ตอนนั้นอ่านแล้ว ก็ไม่เข้าใจ  ได้แต่ท่องไปท่องมาอยู่ในหัว เพราะเห็นว่าเป็นความหมายที่แปลกดี ทำอย่างไรก็ไม่เข้าใจ

ท่องจนติดมากับหัวจนกระทั่งโตเป็นผู้ใหญ่...

และในที่สุดก็ได้รับบทเรียน ในเรื่องเหล่านี้

เมื่อคำพูดของเรา ได้สร้างความขุ่นเคืองใจให้กับคู่สนทนา

เป็นอย่างนี้มาหลายปี บางครั้งการที่เราจะพูดอะไรออกไป ก็ต้องนึกถึงใจเขาใจเรา เราสนุกเค้าไม่สนุก

อีกทั้งแต่ละคนต่างก็มีบุคลิก ลักษณะนิสัยและจิตใจที่แตกต่างกันออกไป

เราจึงต้องมาปรับเปลี่ยนที่ตัวเอง พูดให้น้อยลง หรือไม่พูดเลยก็คงจะดี

สัจธรรมที่ได้พบเจอกับตัวเอง ทำให้เข้าใจศีลข้อที่ 4 คือ มุสาวาทา  อันได้แก่

ไม่พูดปด ไม่พูดเล่น ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ ไม่พูดให้คนอื่นเจ็บช้ำน้ำใจ

สิ่งที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงสอนสั่งนั้น  คือสัจธรรม  เป็นจริงแน่แท้  เชื่อฟังและปฏิบัติตามเถิด

อย่าให้ต้องไปลองหรือได้รับบทเรียนจากการกระทำของตัวเองเลย  เพราะนั่นจะเป็นวิบากกรรมติดตัวเราไป

เมื่อถึงคราวชดใช้  จะหนักหนาเสียยิ่งกว่า ที่เราได้กระทำกับคนอื่นไว้  มากมายนัก

การก่อผนังอิฐบล็อก

ที่มา :  https://itdang2009.com/อิฐบล็อก-และเทคนิคการก่/ อิฐบล็อก และเทคนิคการก่ออิฐบล็อก ...