วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การรักษาศีลข้อวิกาละโภชนา

ถาม: วิกาละโภชนา พระกับฆราวาสต่างกันไหม ?

ตอบ : ถ้าฆราวาส หลวงพ่อท่านบอกว่าส่วนใหญ่แล้วทำงานมันเลิกเที่ยง ท่านบอกว่าให้กำหนดไว้ว่าไม่เกินบ่าย ๒ โมง แต่ว่าของพระนี่...ถ้าเที่ยงตรงเป๊งก็ต้องเลิกเลย เพราะ โลกมันนิยมอย่างนั้น ความจริงวิกาลแปลว่ากลางคืน ศีลพระมีอยู่ ๒ ข้อ ที่กล่าวชัดๆ ถึงเวลาวิกาล ก็คือรับประทานอาหารในเวลาวิกาลอย่างหนึ่ง และเข้าบ้านในเวลาวิกาลโดยไม่ได้บอกลาอย่างหนึ่ง

แต่คราวนี้ของเรา เวลาวิกาลที่ไม่ได้บอกลาจะเข้าไปในบ้าน เขาตีว่าพระอาทิตย์ตกดินแล้ว แต่ว่าเวลาวิกาลที่ฉันอาหาร เขาตีว่าหลังเที่ยงไปแล้ว มันลักลั่นกัน แต่พม่ามันตีราคาเดียวกัน เพราะฉะนั้น พระพม่าฉันมื้อเย็นกันเพลิดเพลินเจริญใจไปเลย ถือว่าวิกาลเหมือนกัน แต่จริงๆ เราต้องมาดูตรงจุดที่ว่า พระพุทธเจ้าท่านปรารถนาให้เรารู้จักโภชเนมัตตัญญุตา คือ ประมาณในการกิน การรู้จักประมาณในการฉันแต่พอควรแก่ธาตุขันธ์ตัวเอง มันก็ไม่ทำให้กิเลสกำเริบ มันทำให้ร่างกายโปร่งเบา มันทำให้ภาวนาได้ง่าย มันทำให้ไม่ต้องมีห่วงมีกังวลในการเตรียมอาหารมื้อต่อไป ดังนั้นแม้ว่าฆราวาสเราจะว่ากันจนถึงบ่าย ๒ โมง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าให้เรากินตั้งแต่เช้ายันบ่าย ๒ โมง มันต้องรู้จักประมาณบ้าง

สมัยก่อนมีโยมอยู่คนหนึ่ง ชุดนี้ทำงานเก่ง เวลาไปวัดท่าซุง คุณจะเห็นชุดขาวพรึ่บไปทั้งชุด ๓๐ – ๔๐ คนเลย มีอยู่รายหนึ่งถือศีลแปด อธิษฐานว่าจะกินถึงบ่าย ๒ โมง ปรากฎว่ากินวันหนึ่ง ๑๐ กว่ามื้อ ตกลงว่าให้กิน ๓ มื้อเท่าเดิมดีกว่า เปลืองน้อยกว่าเยอะเลย ต้องรู้จักประมาณในการกิน ไม่ใช่ว่าตะบันไป ให้มันเป็นมื้อเป็นคราว

ถาม: ไอศกรีม ?

ตอบ : ไอศกรีม จริงๆ ถ้าหากว่าเป็นพระ ไม่มีพวกถั่ว ลอดช่อง สาคู มันเป็นแค่นมเนยมันได้ แต่หลวงพ่อท่านเคยขอไว้ ท่านบอกว่าถ้าไม่ถึงกับจะตายห่าจริงๆ อย่าไปแดกมันเลยลูก มันน่าเกลียด คือ เห็นพระนั่งกินไอติมอยู่ มันงามไหมล่ะ ? โดยเฉพาะตอนเย็นๆ แต่ว่าศีลของพระเป็นอย่างนั้น คราวนี้ของโยมเขาไม่ได้ห้ามเอาไว้ชัด ถ้าเรารู้ชัดว่ามันไม่ใช่อาหารก็ว่าไป แต่ไม่ใช่กินไป ๓ ถ้วย ๕ ถ้วย เอามันแค่พอระงับการกระวนกระวายของร่างกายที่จะเกิดจากความหิว

ถาม: น้ำเต้าหู้ ?

ตอบ : น้ำเต้าหู้ ถ้าพระไม่ได้จ้ะ แต่โยมได้ เพราะว่าของพระเขาระบุไว้ชัดเลยว่าอันไหนเป็นอาหาร อันไหนเป็นเภสัช ส่วนที่เป็นอาหารเขาระบุไว้ชัดเลย สาลี วีหี ตัณฑุลา สาลีคือข้าว วีหีคือถั่ว ตัณฑุลาคืองา น้ำเต้าหู้นี่มันมาจากถั่ว ถึงทำเป็นน้ำแล้วเขายังถือว่าเป็นอาหารอยู่ เพราะฉะนั้นพวกน้ำเต้าหู้ น้ำถั่วเหลือง แลคตาซอย ไวตามิลค์ ถวายพระไป ถ้าท่านไม่รู้ท่านฉันไปก็เป็นโทษเหมือนกัน

แต่มาตอนหลังมันถวายกันจนกระทั่งพระไปไม่เป็นแล้ว คือไม่ว่ากี่มื้อถวายแต่อย่างนั้น แล้วเขาถามว่ายังไง ? บอกคุณก็ฉันไป ๑ แก้วก็พอ ไม่ใช่ฟาดไป ๓ ขวด ๕ ขวด มันต้องรู้จักประมาณ ในเมื่อโยมเขาถวายมา ถ้าเราไม่ฉัน เขาก็เกิดน้อยใจ เสียใจ กำลังใจเขาตก คุณก็ฉันให้เขาดูสักแก้ว ครึ่งแก้ว แล้วเราก็ไปปลงอาบัติของเรา เพราะเรารู้ว่าไม่ถูกต้อง มันไม่ใช่เจตนาเราจะฉันเอาอิ่มเอาสนุกจะกินให้อ้วนพี จะกินให้ยั่วกิเลสมันเกิดขึ้น แต่ว่าการฉันโดยบังคับด้วยสถานการณ์เพราะต้องการรักษาศรัทธาญาติโยม แต่ถ้าเป็นอาตมารับมา ก็ส่งต่อไปเลย อาตมาไม่ค่อยรักษาศรัทธาหรอก มันมาเยอะ เราเหนื่อย

ถาม: ไอศกรีมไม่ต้องเคี้ยว

ตอบ : จริงๆ มันเป็นส่วนของนมเนย พระพุทธเจ้าท่านอนุญาตให้เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ถ้านมเป็นเนยเฉยๆ ไม่เป็นไร แต่ก็อย่างว่าน่ะ ที่หลวงพ่อท่านว่ามันน่าเกลียด ถ้าเป็นโยมกินไปเถอะ เพราะเขาไม่รู้หรอกว่าเรารักษาศีลแปดหรือเปล่า ยกเว้นเราโกนหัวนุ่งขาวห่มขาว

ถาม: ไอศกรีมกะทิก็ห้ามด้วย

ตอบ : ก็ดูสิว่ามันจะไม่มีของอื่นที่เป็นอาหารอยู่ ถ้าหากว่ามีพวกผลไม้มีลอดช่อง มีถั่ว ก็ฉันไม่ได้อยู่แล้ว จริงๆ กะทิเป็นน้ำมัน ที่เขาห้าม คือ ห้ามน้ำพวกที่เป็นมหาผล ที่เขาห้ามเพราะว่าน้ำมันมีฮอร์โมนมาก เป็นพระต้องการความสงบ กินไอ้ที่มีฮอร์โมนเยอะๆ เข้าไป มันหาที่ไปไม่เป็นหรอก

ถาม: น้ำผลไม้ก็ไม่ได้ ?

ตอบ : น้ำผลไม้เขาห้ามไอ้ที่ใหญ่กว่ากำปั้น ส่วนใหญ่พวกสับปะรด แตงโม ส้มโอ มะพร้าวอ่อน ฮอร์โมนเยอะมาก ฉันเข้าไปจะไม่สุขสงบ แรกๆ ท่านอนุญาตไว้ ๘ อย่าง เรียกว่า อัฏฐบานคือ อัฏฐปานะ น้ำ ๘ อย่าง มาตอนหลังท่านบัญญัติเพิ่มเติมว่า ถ้าเป็นผลไม้แล้วโตไม่เกินลูกมะตูม คือกะว่าประมาณกำปั้นนี่ ถ้าไม่โตเกินนั้นก็อนุญาตให้ ถ้าโตเกินนั้นไม่อนุญาต



สนทนากับพระเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
เดือนมกราคม ๒๕๔๗(ต่อ)
ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ

วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555

คำอาราธนาอุโบสถศีล

มะยัง ภันเต ติสะระเณ นะสะหะ อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง, อุโปสะถัง ยาจามะ
ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต ติสะระเณ นะสะหะ อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง, อุโปสะถัง ยาจามะ
ตะติยัม มะยัง ภันเต ติสะระเณ นะสะหะ อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง, อุโปสะถัง ยาจามะ

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขออาราธนาอุโบสถศีล อันประกอบด้วยองค์ ๘ พร้อมด้วยไตรสรณะ
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขออาราธนาอุโบสถศีล อันประกอบด้วยองค์ ๘ พร้อมด้วยไตรสรณะ แม้ครั้งที่ ๒
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขออาราธนาอุโบสถศีล อันประกอบด้วยองค์ ๘ พร้อมด้วยไตรสรณะ แม้ครั้งที่ ๓

คำอาราธนานี้ใช้สำหรับการสมาทานศีลพร้อมกันหลายๆ คน
ถ้าคนเดียว เปลี่ยนคำว่า “มะยัง” เป็น “อะหัง” และ “ยาจามะ” เป็น “ยาจามิ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
อะระหะโต
ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส
สัมมาสัมพุทธัสสะ
ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง
(ว่า ๓ ครั้ง ตามพระสงฆ์)

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ข้าพเจ้าขอถือเอาพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ข้าพเจ้าขอถือเอาพระธรรม ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ข้าพเจ้าขอถือเอาพระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก

ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าขอถือเอาพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าขอถือเอาพระธรรม ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าขอถือเอาพระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก

ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าขอถือเอาพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าขอถือเอาพระธรรม ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าขอถือเอาพระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก

พระจะกล่าว "ติสรณคมนัง ปริปุณนัง"
เรากล่าวรับ "อามะภันเต"


๑. ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือเจตนา เว้นจากการฆ่าด้วยตนเอง และใช้ให้ผู้อื่นฆ่า
๒. อทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้แล้ว ด้วยตัวเอง และใช้ให้ผู้อื่นฉ้อฉล
๓. อพรัหมะจะริยา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือเว้นจากการประพฤติกรรมอันเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์
๔. มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือเว้นจากการพูดเท็จ คำล่อลวงผู้อื่น
๕. สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฺฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือเว้นจากการ ดื่มน้ำเมา สุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งของความประมาท
๖. วิกาละโภชะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือเว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล (ตั้งแต่เที่ยงจนถึงรุ่งอรุณของวันใหม่)
๗. นัจจะคีตะวาทิตะ วิสูกะทัสสะนา
มาลาคันธะวิเลปะนะ ธาระณะ มัณฑะนะ วิภูสะนัฏฺฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
ข้าพเจ้า สมาทานซึ่งสิกขาบท คือเว้นจากการฟ้อนรำขับร้องและประโคมเครื่องดนตรีต่างๆ และดูการละเล่นชนิดเป็นข้าศึกต่อกุศล และลูบทาทัดทรวงประดับตกแต่งร่างกายด้วยดอกไม้และของหอม อันเป็นที่ตั้งแห่งความยินดี
๘. อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือเว้นจากการนั่งนอนบนเตียงตั่งมีเท้าสูงเกินประมาณ
และที่นอนสูงใหญ่ภายในมีนุ่นและสำลี และเครื่องปูลาดอันวิจิตรงดงามต่างๆ

พระสงฆ์จะกล่าว "อัปปมาเทนะ สัมปาเทถะ"
เรากล่าวรับ "อามะภันเต"
หรือ
พระสงฆ์จะกล่าว “มายาทาสิกขาปะทานิ”
หรือ
อิมานิ อัฏฐะ สิกขาปะทานิ
ทั้งหมดนี้คือหัวข้อที่จะต้องศึกษาและปฏิบัติ ๘ ประการ

(บางครั้งพระสงฆ์กล่าวว่า “อิมานิ อัฏฐะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ” แล้วเราว่าตาม ๓ ครั้ง)

พระสงฆ์จะกล่าวต่อว่า

สีเลนะ สุคะติง ยันติ
ศีลเป็นปัจจัยให้มีความสุข

สีเลนะ โภคะสัมปะทา
ศีลเป็นปัจจัยให้มีโภคสมบัติ

สีเลนะ นิพพุติง ยันติ
ศีลเป็นปัจจัยให้เข้าถึงพระนิพพาน

ตัสมา สีลัง วิโสธะเยฯ
เพราะฉะนั้น จงทำจิตให้สะอาดหมดจดด้วยศีลตลอดกาลทุกเมื่อเถิดฯ

เรากล่าวรับ "สาธุ ภันเต"


(สำหรับอุโบสถศีล กล่าวต่อตามข้างล่าง)

เมื่อจบสิกขาบทดังกล่าวแล้ว ผู้รับศีลพึงกล่าวคำสมาทานอีกดังนี้

อิมัง อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง พุทธะปัญญัตตัง อุโปสะถัง อิมัญจะ รัตติง อิมัญจะ ทิวะสัง สัมมะเทวะ อะภิรัปขิตุง สะมาทิยามิ
ข้าพเจ้า สมาทานอุโบสถศีลที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติ ประกอบไปด้วยองค์ ๘ ประการ นี้ เพื่อจะรักษาไว้ไม่ให้ขาด ไม่ให้ทำลาย ตลอดเวลา วันหนึ่ง คืนหนึ่ง ณ เวลาวันนี้

จากนั้นพระสงฆ์กล่าวสรุปอุโบสถศีลดังนี้

อิมานิ อัฏฐะ สิกขาปะทานิ, อัชเฌกัง รัตติง เอวัง อุโปสะถะสีละวะเสนะ, สาธุกัง กัตวา อัปปะมาเทนะ รักขิตัพพานิ
ขอท่านทั้งหลายจงรักษาสิกขาบททั้งแปดข้อนี้ไว้ให้ดี อย่าประมาท ต่ออำนาจศีลอุโบสถตลอดราตรีหนึ่ง

ผู้รับศีลพึงตอบรับว่า “สาธุ ภันเต

วันพฤหัสบดีที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2555

พิธีรักษาอุโบสถศีล

วันนี้ตรงกับขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 เป็นวันอาสาฬหบูชา 
เข้าพรรษาปีนี้  เริ่มเลย...
.........เมื่อพระสงฆ์สามเณรทำวัตรเช้าเสร็จแล้ว อุบาสกอุบาสิกพึงทำวัตร
เช้า โดยเริ่มคำบูชาพระ ว่า

.........ยะมะหัง สัมมาสัมพุทธัง ภะคะวันตัง สะระณัง คะโต, (หญิงว่า
คะตา) พระผู้มีพระภาค, พระองค์ตรัสรู้ดีแล้วโดยชอบพระองค์ใด, ข้าพเจ้า
ถึงแล้วว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยจริง, อิมินา สักกาเรนะ, ตัง ภะคะวันตัง,
อะภิปูชะยามิ, ข้าพเจ้าบูชา, ซึ่งพระผู้มีพระภาคนั้น, ด้วยเครื่องสักการะอันนี้.

.........ยะมะหัง สวากขาตัง, ธัมมัง สะระณัง คะโต (หญิงว่า คะตา)
พระธรรมที่พระผู้มีพระภาค, พระองค์ตรัสไว้ดีแล้วสิ่งใด, ข้าพเจ้าถึงแล้วว่า
เป็นที่พึ่งกำจัดภัยจริง, อิมินา สักกาเรนะ, ตัง ธัมมัง, อะภิปูชะยามิ,
ข้าพเจ้าบูชา, ซึ่งพระธรรมนั้น, ด้วยเครื่องสักการะอันนี้.

.........ยะมะหัง สุปะฏิปันนัง, สังฆัง สะระณัง คะโต (หญิงว่า คะตา)
พระสงฆ์ที่ท่านเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้วหมู่ใด, ข้าพเจ้าถึงแล้วว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัย
จริง, อิมินา สักกาเรนะ, ตัง สังฆัง, อะภิปูชะยามิ, ข้าพเจ้าบูชา, ซึ่ง
พระสงฆ์หมู่นั้น, ด้วยเครื่องสักการะอันนี้.

.........อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ
(กราบ)
.........สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)
.........สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สังฆัง นะมามิ (กราบ)

.........(ต่อจากนี้ ทำวัตรเช้า จบแล้วหัวหน้าอุบาสกหรืออุบาสิกาพึงคุกเข่า
ปะนมมือประกาศองค์อุโบสถ ทั้งคำบาลีและคำไทย ดังนี้)

.........อัชชะ โภนโต ปักขัสสะ อัฏฐะมีทิวะโส (ถ้าวันพระ ๑๕ ค่ำ ว่า
ปัณณะระสีทิวะโส ๑๕ ค่ำว่า จาตุททะสีทิวะโส) เอวะรูโป โข โภนโต
ทิวะโส พุทเธนะ ภะคะวะตา ปัญญัตตัสสะ ธัมมัสสะวะนัสสะ เจวะ
ตะทัตถายะ อุปาสะกะอุปาสิกานัง อุโปสถัสสะ จะ กาโล โหติ หันทะ
มะยัง โภนโต สัพเพ อิธะ สะมาคะตา ตัสสะ ภะคะวะโต ธัมมานุ-
ธัมมะปะฏิปัตติยา ปูชะนัยถายะ อิมัญจะ รัตติง อิมัญจะ ทิวะสัง
อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง อุโปสะถัง อุปะวะสิสสามาติ กาละปะริจเฉหัง
กัตวา ตัง ตัง เวระมะณิง อารัมมะณัง กะริตวา อะวิกขิตตะจิตตา หุตวา
สักกัจจัง อุโปสะถัง สะมาทิเยยยามะ อีทิสัง หิ อุโปสะถัง สัมปัตตานัง
อัมหากัง ชีวิตัง มา นิรัตถะกัง โหตุ 

คำแปล

........ขอประกาศเริ่มเรื่องความที่จะสมาทานรักษาอุโบสถ อันพร้อมไปด้วย
องค์แปดประการ ให้สาธุชนที่ได้ตั้งจิตสมาทานทราบทั่วกันก่อน แต่สมาทาน
ณ บัดนี้ ด้วยวันนี้ เป็น วันอัฏฐะมีดิถีที่แปด (ถ้าวันพระ ๑๕ ค่ำว่า วันปัณ-
ณะระสีดิถีที่สิบห้า ๑๔ ค่ำว่า วันจาตุททะสีดิถีที่สิบสี่) แห่งปักษ์มาถึงแล้ว
ก็แหละวันเช่นนี้ เป็นกาลที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแต่งตั้งไว้ให้
ประชุมกันฟังธรรมและเป็นกาลที่จะรักษาอุโบสถของ อุบาสกอุบาสิกา ทั้งหลาย
เพื่อประโยชน์แก่การฟังธรรมนั้นด้วย เชิญเถิดเราทั้งหลายทั้งปวงที่ได้มา
ประชุมพร้อมกัน ณ ที่นี้ พึงกำหนดกาลว่าจะรักษาอุโบสถตลอดวันหนึ่งกับคืน
หนึ่งนี้ แล้วพึงทำความเว้นโทษนั้น ๆ เป็นอารมณ์ คือ

........- เว้นจากฆ่าสัตว์ ๑
........- เว้นจากลักฉ้อสิ่งที่เจ้าของเขาไม่ให้ ๑
........- เว้นจากประพฤติกรรมที่เป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ ๑
........- เว้นจากเจรจาคำเท็จล่อลวงผู้อื่น ๑
........- เว้นจากดื่มสุราเมรัยอันเป็นเหตุที่ตั้งแห่งความประมาท ๑
........- เว้นจากบริโภคอาหาร ตั้งแต่เวลาพระอาทิตย์เที่ยงแล้วไปจน
........ถึงเวลาอรุณขึ้นมาใหม่ ๑
........- เว้นจากฟ้อนรำขับร้องและประโคมเครื่องดนตรีต่าง ๆ แต่
........บรรดาที่เป็นข้าศึกแก่บุญกุศลทั้งสิ้น และทัดทรงประดับตก
........แต่งร่างกายด้วยดอกไม้ของหอม เครื่องประดับเครื่องทา
........เครื่องย้อม ผัดผิด ทำกายให้วิจิตรงดงามต่างๆ อันเป็นเหตุ
........ที่ตั้งแห่งความกำหนัดยินดี ๑
........- เว้นจากนั่งนอนเหนือเตียงตั่งม้าที่มีเท้าสูงเกินประมาณ และ
........ที่นั่งที่นอนใหญ่ ภายในมีนุ่มและสำสี และเครื่องปูลาดที่
........วิจิตรด้วยเงินและทองต่าง ๆ ๑
........อย่าให้มีจิตฟุ้งซ่านส่งไปอื่น พึงสมาทานเอาองค์อุโบสถทั้งแปดประการโดย
เคารพ เพื่อจะบูชาสมเด็จ พระผู้มีพระภาค พระพุทธเจ้านั้น ด้วยธรรมมานุธรรม
ปฏิบัติ อนึ่ง ชีวิตของเราทั้งหลายที่ได้เป็นอยู่รอดมาถึงวันอุโบสถเช่นนี้ จงอย่า
ได้ล่วงไปเสียเปล่าจากประโยชน์เลย

........(เมื่อหัวหน้าประกาศจบแล้ว พระสงฆ์ผู้แสดงธรรมขึ้นนั่งบนธรรมาสน์
อุบาสกอุบาสิกพึงนั่งคุกเข่ากราบพร้อมกัน ๓ ครั้ง แล้วกล่าวคำอาราธนา
อุโบสถศีลพร้อมกัน ว่าดังนี้)

........มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ
........อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง อุโปสะถัง ยาจามะ (ว่า ๓ จบ)
........ต่อนี้ คอยตั้งใจรับสรณคมน์และศีลโดยเคารพ คือประนมมือ ว่าตาม
คำที่พระสงฆ์บอกเป็นตอน ๆ ว่า 

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ) ........พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ 

.........เมื่อพระสงฆ์ว่า ติสะระณะคะมะนัง นิฏฐิตัง พึงรับพร้อมกันว่า
อามะ ภันเต
.........๑. ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาประทัง สะมาทิยามิ
.........๒. อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
.........๓. อะพรัหมะจริยา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
.........๔. มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
.........๕. สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง
สะมาทิยามิ
.........๖. วิกาละโภชะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
.........๗. นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสะนา มาลาคันธะวิเลปะนะ-
ธาระณะ มัณฑะนะวิภูสะนัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง
สะมาทิยามิ
.........๘. อุจจาสะยะนะมะสะยะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง
สะมาทิยามิ

อิมัง อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง, พุทธะปัญญัตตัง อุโปสะถัง, อิมัญจะ
รัตติง อิมัญจะ ทิวะสัง, สัมมะเทวะ อะภิรักขิตุง สะมาทิยามิ (หยุดรับ
เพียงเท่านี้) ตอนนี้ พระสงฆ์จะว่า อิมานิ อัฏฐะ สิกขาปะทานิ อุโปสะถะ-
วะเสนะ มะนะสิกะริตวา สาธุกัง อัปปะมาเทนะ รักขิตัพพานิ (พึงรับ
พร้อมกันว่า) อามะ ภันเต
(พระสงฆ์ว่าต่อ)
สีเลนะ สุคะติง ยันติ สีเลนะ โภคะสัมปะทา
สีเลนะ นิพพุติง ยันติ ตัสมา สีลัง วิโสธะเย

.........พึงกราบพร้อมกัน ๓ ครั้ง ต่อนี้นั่งรอบพับเพียบประนมมือฟังธรรม
เมื่อจบแล้วพึงให้สาธุการและสวดประกาศตนพร้อมกัน ดังนี

สาธุ สาธุ สาธุ .........อะหัง พุทธัญจะ ธัมมัญจะ สังฆัญจะ สะระณัง คะโต (หญิงว่า คะตา)
อุปาสะกัตตัง (หญิงว่า อุปาสิกัตตัง) เทเสสิง ภิกขุสังฆัสสะ สัมมุขา
เอตัง เม สะระณัง เขมัง เอตัง สะระณะมุตตะมัง
เอตัง สะระณะมาคัมมะ สัพพะทุกขา ปะมุจจะเย
ยะถาพะลัง จะเรยยาหัง สัมมาสัมพุทธะสาสะนัง
ทุกขะนิสสะระณัสเสวะ ภาคี อัสสัง (หญิงว่า ภาคินิสสัง) อะนาคะเต ฯ

.........กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา
พุทเธ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง
พุทโธ ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง
กาลันตะเร สังวะริตุง วะ พุทเธ

.........กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะวา วา
ธัมเม กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง
ธัมโม ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง
กาลันตะเร สังวะริตุง วะ ธัมเม

.........กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา
สังเฆ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง
สังโฆ ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง
กาลันตะเร สังวะริตุง วะ สังเฆ ฯ 

คำอาราธนาธรรมพิเศษ จาตุททะสี ปัณณะระสี ยา จะ ปักขัสสะ อัฏฐะมี
กาลา พุทเธนะ ปัญญัตตา สัทธัมมัสสะวะนัสสิเม
อัฏฐะมี โข อะยันทานิ สัมปัตตา อะภิลักขิตา
เตนายัง ปะริสา ธัมมัง โสตุง อิธะ สะมาคะตา
สาธุ อัยโย ภิกขุสังโฆ กะโรตุ ธัมมะเทสะนัง
อะยัญจะ ปะริสา สัพพา อัฏฐิกัตวา สุณาตุ ตันติ ฯ

หมายเหตุ ถ้าวันพระ ๑๕ ค่ำ ว่า ปัณณะระสี ถ้า ๑๔ ค่ำ ว่า จาตุททะสี 

คำแผ่เมตตา .........สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลาย ที่เป็นเพื่อนทุกข์เกิดแก่เจ็บตายด้วยกัน
หมดทั้งสิ้น
.........อะเวรา จงเป็นสุข ๆ เถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย
.........สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์เกิดแก่เจ็บตายด้วยกัน
หมดทั้งสิ้น
.........อัพยา ปัชฌา จงเป็นสุข ๆ เถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกัน
เลย
.........สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลาย ที่เป็นเพื่อนทุกข์เกิดแก่เจ็บตายด้วยกัน
หมดทั้งสิ้น
.........อะนีฆา จงเป็นสุข ๆ เถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย
.........สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์เกิดแก่เจ็บตายด้วยกัน
หมดทั้งสิ้น
.........สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้น
จากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ท่านทั้งหลาย ที่ท่านได้ทุกข์ขอให้ท่านมีความสุข ท่าน
ทั้งหลายที่ท่านได้สุข ขอให้สุขยิ่ง ๆ
.........สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายที่เกิดเป็นชะลาพุชะ ที่เกิดเป็นอัณฑะชะ
ที่เกิดเป็นสังเสทะชะ ที่เกิดเป็นโอปปาติกะ จงมารับกุศลผลบุญให้ถ้วนทั่ว
ทุกตัวสัตว์
อะภิณหะปัจจะเวกขะณะ .........ชะรา ธัมโมมหิ ชะรัง อะนะตีโต (หญิงว่า อะนะตีตา) เรามี
ความแก่ชราเป็นธรรมดา เราไม่ล่วงพ้นความแก่ชราไปได้
.........พยาธิ ธัมโมมหิ พยาธิง อะนะตีโต (หญิงว่า อะนะตีตา) เรามี
ความไข้เจ็บเป็นธรรมดา เราไม่ล่วงพ้นความไข้เจ็บไปได้
.........มะระณะ ธัมโมมหิ มะระณัง อะนะตีโต (หญิงว่า อะนะตีตา)
เรามีความตายเป็นธรรมดา เราไม่ล่วงพ้นความตายไปได้
.........สัพเพหิ เม ปิเยหิ มะนา เปหิ นานาภาโว วินาภาโว คงมีแก่เรา
ความเป็นต่าง และความพลัดพรากจากสัตว์และสังขาร และความพลัดพราก
จากของที่น่ารักน่าชอบใจของเราทั้งหลาย
.........กัมมัสสะโกมหิ เรามีกรรมเป็นกรรมของตัว
.........กัมมะทายาโท เรามีกรรมเป็นผู้นำมามอบให้
.........กัมมะโยนิ เรามีกรรมเป็นผู้นำไปเกิด
.........กัมมะพันธุ เรามีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ และพวกพ้อง
.........กัมมะปะฏิสะระโณ เรามีกรรมเป็นเครื่องยุยงเป็นเครื่องระลึก
.........ยังกัมมัง กะริสสามิ กัลยาณัง วา ปาปะกัง วา เราจะทำ
กรรมอันใด ๆ ไว้ จะเป็นกรรมงามกรรมดีที่เป็นกุศลหรือ หรือจะเป็นกรรมชั่ว
กรรมลามกที่เป็นบาป
.........ตัสสะ ทายาโท ภะวิสสามิ เราจะต้องเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น 
บังสุกุล อะจิรัง วะตะยัง กาโย ปะฐะวิง อะธิเสสสะติ
ฉุฑโฑ อะเปตะวิญญาโณ นิรัตถังวะ กะลิงคะรัง
อะนิจจา วะตะ สังขารา อุปปาทะวะยะธัมมิโน
อุปปัชชิตวา นิรุชฌันติ เตสัง วูปะสะโม สุโข
คำลากลับบ้าน หันทะทานิ มะยัง ภันเต อาปุจฉามะ
พะหุ กิจจา มะยัง พะหุกะระณียา
.........พระสงฆ์ผู้รับลากล่าวคำว่า ยัสสะทานิ ตุมเห กาลัง มัญญะถะ
ผู้ลาพึงรับพร้อมกันว่า สาธุ ภันเต แล้วกราบ ๓ ครั้ง 

การก่อผนังอิฐบล็อก

ที่มา :  https://itdang2009.com/อิฐบล็อก-และเทคนิคการก่/ อิฐบล็อก และเทคนิคการก่ออิฐบล็อก ...